Case Study 1 : Making the Sumi come faster. (Manu Showa)
ภาพนี้ผมถ่ายในวันที่ 10 มกราคม 2553
ปลามีขนาด 32 เซ็นติเมตร
ปลาตัวนี้มี 2 สิ่งที่ผมต้องการศึกษา คือ
1) เรื่องสีดำ ผมอยากรูปว่าดำแบบนี้ จะขึ้นมาแล้วแน่นไหม ทนการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเวลาประกวดปลาได้มาน้อยเพียงใด
2) เรื่องสีแดง ผมอยากรูปว่าสีแดงแบบนี้ จะทำให้มีความหนาขึ้นได้ไหม เพราะว่าปลาตัวนี้สีแดงไม่หนา(ถึงแม้ว่าจะดูสม่ำเสมอ ดังรูปด้านล่าง)
ผมเลี้ยงปลาตัวนี้ไว้ในบ่อผ้าใบขนาด 2 เมตร ติดถังกรอง(ทำจากถังสี) โดย
ผมเตรียมน้ำไว้อยู่แล้วน้ำเก่า และ แก่ๆ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผมเลี้ยงปลาตัวนี้
ผมไม่ได้เปลี่ยนน้ำเลยแต่อย่างใด
ผมให้อาหารเร่งสี Hikari ExCell วันละ 1 มื้อๆละประมาณ4-5 เม็ด เท่านั้นครับ
ผมขอขยายความเล็กน้อย เนื่องจากมีคำถามจากเพื่อนๆมาครับ
ผมคิดเอาเองว่า น้ำแก่ๆ จะมีสารบางอย่างคล้ายๆฟีโรโมนที่ทำให้ปลาไม่ค่อยจะเติบโตมาก
พอมันเติบโตช้า สีก็มีโอกาสจะกระชับและแน่นมากขึ้น
ส่วน เรื่องสีดำ ที่มาเร็วขึ้น น่าจะมาจากค่า PH ที่สูงขึ้นครับ แต่ก็อย่างที่เราทราบๆกันดีอยู่แล้วว่าถ้าค่าPHมากเกินไปปลาจะสุขภาพไม่ดี อาจจะป่วยได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่เราที่จะควบคุมปริมาณของเสียที่จะเกิดขึ้นให้มีน้อยลง ผมจึงให้อาหารปลาน้อยๆครับ
อีกอย่างผมสร้างสภาวะเพื่อช่วยเหลือปลา ดังนี้ครับ
1) ผมใส่อ็อกซิเจนค่อนข้างมาก เพื่อช่วยลดภาระของเหงือกปลาที่อยู่ในน้ำแก่ๆ ป้องกันภาวะแผ่นเหงือหนา กาง ผิดรูป เหมือนที่เราเห็นๆกันทั่วๆไปตาม Resort ที่ไม่ค่อยได้เปลี่ยนน้ำบ่อปลา ทำให้ปลามีสีดำดีมากแต่เหงือกบาน โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าสาเหตุเกิดจากน้ำแก่จะมีผลทำให้การแลกเปลี่ยนอ็อกซิเจน ของปลากับน้ำลำบากขึ้น
2) ผมใส่ปะการังลงไป 2-3กำมือ เพื่อช่วยเป็น PH Buffer ป้องกันการเปลี่ยนแปลงPH ที่รวดเร็วเกินไปของระบบ ซึ่งอันตรายมากครับ
3) ขยันตักเมือกหน้าน้ำทิ้ง เพราะเป็นของเสียครับ
ปล.สุด ท้าย ผมได้ข้อแนะนำจากพี่หนึ่ง(2p - Koi360.com) ว่าให้ผมเล่นกับค่า GH กับพื้นที่ว่ายน้ำของปลาให้แคบลงกว่านี้มากๆ ซึ่งผมจะเอามาลองทำในครั้งต่อไปครับเพื่อนๆ
พอมันเติบโตช้า สีก็มีโอกาสจะกระชับและแน่นมากขึ้น
ส่วน เรื่องสีดำ ที่มาเร็วขึ้น น่าจะมาจากค่า PH ที่สูงขึ้นครับ แต่ก็อย่างที่เราทราบๆกันดีอยู่แล้วว่าถ้าค่าPHมากเกินไปปลาจะสุขภาพไม่ดี อาจจะป่วยได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่เราที่จะควบคุมปริมาณของเสียที่จะเกิดขึ้นให้มีน้อยลง ผมจึงให้อาหารปลาน้อยๆครับ
อีกอย่างผมสร้างสภาวะเพื่อช่วยเหลือปลา ดังนี้ครับ
1) ผมใส่อ็อกซิเจนค่อนข้างมาก เพื่อช่วยลดภาระของเหงือกปลาที่อยู่ในน้ำแก่ๆ ป้องกันภาวะแผ่นเหงือหนา กาง ผิดรูป เหมือนที่เราเห็นๆกันทั่วๆไปตาม Resort ที่ไม่ค่อยได้เปลี่ยนน้ำบ่อปลา ทำให้ปลามีสีดำดีมากแต่เหงือกบาน โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าสาเหตุเกิดจากน้ำแก่จะมีผลทำให้การแลกเปลี่ยนอ็อกซิเจน ของปลากับน้ำลำบากขึ้น
2) ผมใส่ปะการังลงไป 2-3กำมือ เพื่อช่วยเป็น PH Buffer ป้องกันการเปลี่ยนแปลงPH ที่รวดเร็วเกินไปของระบบ ซึ่งอันตรายมากครับ
3) ขยันตักเมือกหน้าน้ำทิ้ง เพราะเป็นของเสียครับ
ปล.สุด ท้าย ผมได้ข้อแนะนำจากพี่หนึ่ง(2p - Koi360.com) ว่าให้ผมเล่นกับค่า GH กับพื้นที่ว่ายน้ำของปลาให้แคบลงกว่านี้มากๆ ซึ่งผมจะเอามาลองทำในครั้งต่อไปครับเพื่อนๆ
********* ผ่านไป 1 เดือน *********
เป็น 33 cm
ดำมามากขึ้นอย่างที่หวัง แต่สีแดงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยในเรื่องของความหนา
********* ผ่านไปอีก 1 เดือน *********
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2553
ปลาโตขึ้นมา 1 cmเป็น 33 cm
ดำมามากขึ้นอย่างที่หวัง แต่สีแดงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยในเรื่องของความหนา
********* ผ่านไปอีก 1 เดือน *********
วันที่ 7 มีนาคม 2553
ปลามีขนาด 34 cm
ดำมาเพิ่มขึ้นอีก ส่วนสีแดงก็ยังเหมือนเดิม
********* ผ่านไปอีก 1 เดือนกว่าๆ *********
วันที่ 25 เมษายน 2553
ปลามีขนาด 35cm
ผมตัดสินใจส่งปลาตัวนี้เข้าประกวด
งาน 4th KKST Young Koi Show 2010
ใน นามของเพื่อนมนู(ผู้เป็นคนคัดปลาตัวนี้มาครับ)
ปลาตัวนี้ชนะรางวัลที่2 หรือ 3 ไม่รู้ไม่แน่ใจครับ
************************************************************************
บทสรุป จากการศึษาปลาตัวนี้ ตลอด 4 เดือน คือ
1) สีดำแบบนี้ สามารถเอามาเลี้ยงเร่งให้ดำมาเร็วขึ้นได้ และดำ ก็ยังมีความแน่นพอที่จะทนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในการประกวดปลาได้ครับ
2) สีแดงแบบนี้ เราไม่สามารถทำให้มีความหนาขึ้นได้แต่อย่างใด
ผมหวังเป็นเหลือเกินว่าผลการศึกษานี้ จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆในการเลือกปลามาเลี้ยงนะครับ
และหลังจากการทดลองนี้ได้จบลง ผมได้ปรึกษากับเพื่อนมนู ซึ่งเห็นพ้องกันว่าจะยกปลาตัวนี้ให้พี่น้อยด้วยไมตรีจิตที่ดีต่อกันครับ
สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณเพื่อนมนูที่มอบปลาตัวนี้มาให้ผมศึกษา และขอขอบคุณพี่น้อย ที่รับปลาตัวนี้ไปเลี้ยงต่อครับ
และหลังจากการทดลองนี้ได้จบลง ผมได้ปรึกษากับเพื่อนมนู ซึ่งเห็นพ้องกันว่าจะยกปลาตัวนี้ให้พี่น้อยด้วยไมตรีจิตที่ดีต่อกันครับ
สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณเพื่อนมนูที่มอบปลาตัวนี้มาให้ผมศึกษา และขอขอบคุณพี่น้อย ที่รับปลาตัวนี้ไปเลี้ยงต่อครับ
*************************************************************************
ขอบคุณคับ สรุป นำแก่ๆใช่รึเปล่าคับพี่เต่า
ReplyDeleteใช่ครับพี่ผู้กอง ผมไม่ได้เปลี่ยนน้ำเลยตลอด 4 เดือนกว่าๆ
ReplyDeleteแต่ก็ไม่ค่อยได้ให้ปลากินอาหารเท่าไหร่ครับ ผอมเลย
การทำน้ำแก่ๆ ก็อาจทำให้ผิวขาวดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ด้วยครับ
บางทีเราก็ต้องเลือกครับว่าจะทำอะไรกับปลาครับ
พี่เต่าครับ แดงแบบไม่หนาคือแดงที่สามารถเห็นเกล็ดอยู่ในสีแดงได้
ReplyDeleteจางๆหรือป่าวครับ
ใช่ครับพี่ Baluukas
ReplyDeleteแดงแบบหนา ผมขอยกตัวอย่างตัว Black Hawk No1ครับ
ลองแวะเข้าไปดูนะครับ
การเปลี่ยนน้ำบ่อยๆช่วยให้ปลาโตเร็วด้วยรึเปล่าคับ นอกจากเรื่องขาวแล้ว....ขอข้อมูลเป็นความรู้หน่อยคับพี่
ReplyDeleteพี่ผู้กองครับ. การเปลี่ยนน้ำจะทำให้ปลาโตดีขึ้นได้ครับ
ReplyDeleteผมเชื่ออย่างนั้นครับ
ขอบคุณคับพี่ ยังไผมขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์พี่เต่าด้วยคนนะคับ
ReplyDeleteมีเทคนิคไรดีๆชี้แนะผมด้วยนะคับ
พี่ผู้กองครับ ผมไม่ได้เก่งอะไรเลยครับ
ReplyDeleteผมเป็นอาจารย์ใครไม่ได้ครับ แต่เราเป็นเพื่อนกันครับ
เพื่อนกัน มีอะไรที่ผมพอรู้ผมก็บอกหมดอยู่แล้วครับพี่ผู้กอง
ถ้ามีอะไรที่ผมทำผิดพลาดพี่ผู้กองช่วยชี้แนะผมด้วยนะครับ
ปลาเลี้ยงโดนแดด กับในร่ม มีผลกับสีแดง หรือดำ ไหมครับ ในแง่ไหนอะครับ
ReplyDeleteสวัสดีครับพี่Thakornnat
Deleteแสงแดด มีผลกับสีแดงมากครับ สีแดงที่ได้แสงแดดจะมีสีแดงที่พัฒนาได้เต็มศักยภาพได้ครับ ในขณะที่ปลาที่ไม่ได้รับแสงแดดจะมีสีแดงที่ไม่ค่อยดีครับ จะดูบางๆ
ส่วนสีดำ นั่นความเชื่อส่วนตัวผมว่าได้รับแสงแดดจะดีกว่า แต่ไม่ต่างกันเท่าไรครับ แค่นิดๆหน่อยๆ
เคสทดลองแบบนี้ ชอบมากๆเลยครับ เหมือนอ่านงานวิจัยเลยครับ แจ๋ม ลงเยอะเลยนะพี่เต๋าชอบอ่าน
ReplyDeleteสวัสดีครับพี่อาร์ตี้
Deleteตอนนี้มีการทดลองอยู่อีก1อันครับ รอผลต่อไปครับ จบการทดลองจะลงให้ดูครับ