Omosako – ผมคิดว่าส่วนใหญ่ผมบอกได้ครับ มันขึ้นกับว่าปลาตัวนั้นถูกเลี้ยงดูอย่างไรจากผู้เลี้ยงหลังจากออกจากฟาร์มไป แต่ผมสามารถบอกได้จากลักษณะทั่วไปภายนอกว่าตัวไหนปลาผมตัวไหนไม่ใช่
คำถาม – บอกเราหน่อยได้ไหมครับ
Omosako – ตอนที่ผมใช้พ่อแม่พันธุ์ชุดเดียวนั้นผมบอกได้ง่ายๆเลย แต่ตอนนี้ผมใช้พ่อแม่พันธุ์หลายชุดดังนั้นการแยกแยะจากยากขึ้นมาอีกนิดหน่อย ผมสามารถบอกว่าลูกปลาตัวนี้มาจากพ่อแม่ใดโดยดูจากลักษณะของรูปหน้ามัน(face shape) พวกมันจะมีรูปหน้าทำนองเดียวกัน ต่อมาผมเติมปลาที่มีขนาดใหญ่ขึ้นในกระบวนการเพาะปลาดังนั้นรูปหน้าของมันก็จะเปลี่ยนไปนิดหน่อย ตอนนี้ผมผลิตปลาชิโร่ที่มีลักษณะที่แตกต่างหลายชนิด(และมีบรีดเดอร์อื่นๆอีกที่ผลิตปลาดีๆ)ดังนั้นมันง่ายมากที่จะเกิดความสับสนเมื่อมองปลาที่งานประกวดและบอกได้ว่านี่ปลาชั้นหรือเปล่าเว้นเสียแต่ว่าคุณจำปลาตัวนั้นได้
คำถาม – เข้าใจครับ ในปลาหลัก(Gosanke) คำว่า”keito”เป็นคำที่ใช้บ่อยในการพูดถึง breeder’s brand หรืออ้างถึงลักษณะที่ปลาตัวนั้นมี คุณคิดว่าเราถึงจุดที่จะใช้คำนั้นในชิโร่อุจริหรือยัง
Omosako – ผมไม่แน่ใจถ้าจะใช้คำนั้นแต่ผมได้ยินคนพูดถึงนานๆทีเมื่อกล่าวถึงผม โดยพื้นฐานถ้าผมออกไปหาพ่อแม่ปลาผมจะไม่ได้ประโยชน์มากถ้าผมได้ปลาที่มียีนใกล้เคียงกับปลาที่ผมใช้อยู่ ดังนั้นผมจะลงไปปรึกษาเกี่ยวกับสายเลือดปลาตัวนั้นๆเพื่อพยายามมองให้ออกว่ามันจะเกิดผลดีกับผมอย่างไร ผมเดาๆว่าผมเองก็ถามกี่ยวกับ”keito”เช่นกันดังนั้นผมก็ติต่างว่าในชิโร่อุจิริก็มี”keito”เหมือนกัน
คำถาม – เข้าใจครับ
Omosako – เป้าหมายคือการหาปลาที่ไม่มียีนใกล้เคียงกับพ่อแม่ปลาผม โดยธรรมชาติแล้วเรื่องพวกนี้จะออกมาเองในการสนธนา
คำถาม – ถ้าเปรียบเทียบกับปลาหลัก คุณคิดว่าเลือดของชิโร่อุจิริ thick แล้วหรือยัง
Omosako – ผมอยากจะบอกว่ามันก็ยัง thick ทีเดียว แต่ยังไม่มีบรีดเดอร์มากนักที่ใช้พ่อแม่ชิโร่อุจิริเพาะชิโร่อุจิริ อาจเพราะว่ายังมี”keito”น้อยมาก
คำถาม – โดยส่วนตัวผมคิดว่าโลกของปลาคราฟกำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา มันดูเหมือนว่าหลายๆบรีดเดอร์ที่ผลิตปลาหลักกำลังให้ความสำคัญกับการผลิตปลาจัมโบ้ซึ่งเป็นอะไรที่ผู้เลี้ยงต้องการ คุณคิดว่า ณ.วันนี้ด้วยอายุเท่านี้คุณมีความคิดนี้อยู่ในใจบ้างไหมในฐานะของผู้ผลิตชิโร่อุจิริ
Omosako – ผมคิดว่าถ้ามองจากทั้งหมดและมองจากธุรกิจแล้วผมไม่คิดว่าต้องเน้นการทำปลาจัมโบ้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่ในฐานะบรีดเดอร์ผมรู้สึกว่านี่เป็นสิ่งที่ผมใฝ่ฝันและอยากจะลองทำให้สำเร็จ เรื่องนี้ยังมีแนวโน้มน้อยกว่าสำหรับปลาชิโร่อุจิริแต่ผมว่าความฝันที่เรามีร่วมกันในเรื่องนี้ยังคงคอยให้เราทำให้เป็นจริงให้ได้ในอนาคต ชิโร่อุจิริเป็นที่รู้กันมาว่าจะโตได้ไม่ใหญ่มากแต่ผมอยากจะแสดงให้ลูกค้าที่ชอบปลาจัมโบ้เห็นว่าปลาสายพันธุ์นี้ก็ทำได้ นั่นเป็นเป้าหมายหนึ่งของผม
คำถาม – คุณคิดว่าชิโร่อุจิริต้องใหญ่ขึ้นเพื่อตามปลาหลักที่สามารถทำได้แล้วใช่ไหมครับ
Omosako – ใช่เลยครับในระดับหนึ่ง เป็นความฝันส่วนตัวของผมครับ
คำถาม – มีปลาชิโร่ตัวใหญ่มากตัวหนึ่งที่ทำผลงานได้ดีในงาน 42nd Niigata Nogyosai เมื่อปีที่แล้วผมจำได้ว่ามันมีขนาด 87 เซ็นต์
Omosako – โอ้ใช่ครับ ปลาตัวนั้นสามารถได้ Grand Champion ได้เลยแต่มันได้ Ministry of Fisheries award ( runner-up to the Grand Champion)
คำถาม – นั่นเป็นชิโร่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ใช่ไหมครับ
Omosako – นั่นเป็นชิโร่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
คำถาม – คุณต้องทำอะไรบ้างที่จะผลิตปลาชิโร่ตัวขนาดนี้ได้ ......มีอะไรที่ต่างออกไป
Omosako – ในปี 1993 ผมใช้แม่พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากตัวหนึ่ง
คำถาม – แม่พันธุ์ตัวใหม่ใหญ่ขนาดไหนครับ
Omosako – ตอนนั้นประมาณ 84 เซ็นต์ ผมได้ปลาตัวนี้มาจากลูกค้าคนหนึ่งของผม หลังจากตัดสินใจแล้วว่ามันจะเป็นแม่พันธุ์ที่ดีได้ผมก็ตั้งชื่อมันว่า Tatsuma Utsuri
คำถาม – ปลาตัวนี้ได้มาจากไหนครับ
Omosako – เจ้าของปลาเป็นนักเลี้ยงปลาจาก Saitama
คำถาม – แล้วใครเป็นผู้เพาะปลาตัวนี้ครับ
Omosako – เพาะโดยซาไกครับ มันเป็นแม่ของ Hakuba Utsuri ที่เราพูดถึงก่อนหน้านี้
คำถาม – หลังจากที่ซื้อเจ้า Tatsuma มา คุณเห็นผลลัพธ์ที่ต่างไปไหม
Omosako – ครับ ปลาชิโร่ที่ทำผลงานได้ดีในงาน Nogyosai เป็นลูกของ Tatsuma ครับ
คำถาม – ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่คุณได้ยินบ่อยๆจากปลาหลักคือการจะทำปลาจัมโบ้บางครั้งต้องยอมสูญเสียคุณภาพไปบ้าง คุณคิดว่าสิ่งนั้นจะเป็นจริงเหมือนกันไหมในปลาชิโร่
Omosako – ผมว่าก็เป็นเช่นเดียวกันในปลาชิโร่ครับ ไม่เคยมีปลาชิโร่ที่ทั้งใหญ่และคุณภาพดีเลยมาก่อนจริงๆ ถึงแม้คุณจะหาปลาใหญ่ได้ตัวหนึ่งแต่คุณภาพก็จะไม่ดีมาก นี่เป็นเหตุให้ผมซื้อเจ้า Tatsuma เพราะมันเป็นปลาที่ทั้งใหญ่และมีคุณภาพดี เพื่อมาพัฒนาชิโร่และสร้างปลาจัมโบ้ มันเป็นของที่หายากมากผมคิดว่าถ้าจะมีอะไรที่สามรถผลิตลูกปลาที่ดีกว่านี้ได้ก็คือเจ้า Tatsuma นี่แหละ
คำถาม – แล้วคุณจับคู่ปลาตัวนี้กับปลาพ่อพันธุ์ตัวเดิมตลอดเลยหรือเปล่า
Omosako – ใช่ครับ ยกเว้นตอนช่วงเริ่มต้นครับ พอเราได้พ่อปลาหลักสำหรับมันแล้วเราก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลลัพธ์
คำถาม – มีความแตกต่างกันในเรื่องขนาดของลูกปลาไหมเมื่อเทียบระหว่าง Tatsuma กับพ่อแม่ปลาคู่อื่น
Omosako – ผมว่าพูดได้เต็มปากเลยครับ โดยเฉพาะเมื่อมองชิโร่ของงาน Nogyosai รูปร่างของมันดูแตกต่างทีเดียวในเรื่องของการสร้างกล้ามเนื้อของมัน
คำถาม – คุณเลือกลูกของมันตัวไหนเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์รุ่นที่ 2 ต่อไป
Omosako – ตอนนี้ผมมีแค่ Hakuba และ Tetsuma”B”
คำถาม – โอเค..บอกได้ไหมครับเกี่ยวกับแม่พันธุ์ตัวที่อยู่ตรงหน้านี้ครับ
คำถาม – ปลามีสีแดงนิดหน่อยใช่ไหมครับ
Omosako – ใช่ครับ มันค่อนข้างจะแก่แล้วตอนที่ซื้อมาแต่ว่ามันมีรูปร่างที่ดีและสีดำก็ดีด้วย
คำถาม – สีแดงที่เห็นมาจากยีนที่สามารถส่งต่อไปให้ลูกได้หรือไม่
Omosako – เป็นคำถามที่ยากนะครับ บางครั้งมันก็เป็นอย่างนั้นและบางครั้งก็ไม่เป็นครับ มันไม่ได้ส่งต่อไปยังลูกๆมันมากนัก แค่เพราะมันมีสีแดงไม่ได้หมายความว่าสีแดงต้องเกิดขึ้นบนลูกของมันนะครับ
คำถาม – นี่เป็นความเห็นแบบเดียวกับที่คุณเจอสีดำ( shimi ) ในโคฮากุหรือเปล่า
Omosako – คุณสามารถพูดแบบนั้นได้ครับ ในชิโร่คุณมีโอกาสเจอจุดแดงมากว่าเจอขี้แมลงวันสีดำครับ
คำถาม – ถ้างั้นชิโร่ตัวนี้ก็ไม่ใช่ลูกของโชว่าใช่ไหมครับ
Omosako – ผมไม่คิดเช่นนั้นครับ
*************************************************************************
ขอบคุณพี่เต่ามากๆเลยครับ ผมติดตามทุกเรื่องเลยครับ แต่มีความชอบ Shiro Omosako เป็นพิเศษ ติดตาม Part 1-3 แล้ว ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยครับ ขอบคุณพี่เต่าที่สละเวลาทำBlogดีๆให้พวกเราได้ติดตามชมนะครับ
ReplyDeleteดีใจครับ ทีี่น้องต้นชอบ
ReplyDeleteอย่าพลาดตอนที่4ซึ่งเป็นตอนจบละครับ