ในเรื่องของเภสัชจลนศาสตร์เราแบ่งยาปฎิชีวนะ ออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน
1) Bactericidal ยาปฎิชีวนะที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้จะมีกลไกการออกฤทธิ์ที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยตรง ความสามารถในการฆ่าเชื้อของยาในกลุ่ม bactericidal จะมีความสัมพันธ์กับภาวะการเจริญเติบโตของเชื้อนั้น กล่าวคือ ยาส่วนใหญ่(แต่ไม่ทั้งหมด)จะออกฤทธิ์กับเชื้อที่ยังมีการเจริญเติบโตและมีการแบ่งตัวอยู่เท่านั้น
2) Bacteriostatic ยาปฎิชีวนะที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้จะมีกลไกการออกฤทธิ์ที่ป้องกันการแบ่งตัวของเชื้อแบคทีเรียทำให้ไม่สามารถเพิ่มจำนวนและรอให้ส่วนที่เหลือแก่ตายไปเอง
ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ยาปฎิชีวนะกลุ่ม bacteriostatic ร่วมกับยากลุ่ม bactericidal เพราะยาจะต้านฤทธิ์กันเองเนื่องจากยากลุ่ม bacteriostatic จะไปยับยั้งไม่ให้มีการแบ่งตัวของเซลซึ่งกิจกรรมนี้เป็นเป้าหมายหลักในการโจมตีของยากลุ่ม bactericidal ครับ
หมายเหตุ การแบ่งกลุ่มประเภทนี้แบ่งตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในการทดลองครับ (สิ่งที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตอาจแตกต่างไปได้ครับ)
กลุ่มยาปฏิชีวนะแบ่งตาม target sites
1) ยาปฏิชีวนะที่มีเป้าหมายโจมตีที่ cell wall (เป็น bactericidal)ได้แก่ penicillins, cephalosporins
2) ยาปฏิชีวนะที่มีเป้าหมายโจมตีที่ cell membrane (เป็น bactericidal)ได้แก่ polymixins
3) ยาปฏิชีวนะที่มีเป้าหมายโจมตีโดยไปรบกวนเอนไซม์ที่สำคัญของแบคทีเรีย (เป็น bactericidal)ได้แก่ quinnolones, sulfonamides
4) ยาปฏิชีวนะที่มีเป้าหมายโจมตีโดยมุ่งไปที่การสังเคราะห์โปรตีน (เป็น bacteriostatic)ได้แก่ aminoglycosides, macrolides, tetracyclines
เมื่อเรารู้แล้วว่ายาแบ่งกลุ่มและแบ่งประเภทอย่างไรต่อมาเราก็ต้องรู้อีกว่าจะใช้อย่างไรดี ถ้าว่ากันตามหลักการแล้ว ยาจะสามารถออกฤทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อระดับยาในเลือดสูงถึงระดับหนึ่ง ทำให้เกิดคำ 2 คำดังนี้
1) Minimum inhibitory concentration (MIC) คือ ระดับความเข้มข้นของยาในเลือดที่น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อโรคได้
2) Minimum bactericidal concentration คือ ระดับความเข้มข้นของยาในเลือดที่น้อยที่สุดที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้
และสิ่งที่สำคัญถัดมาก็ คือ ระยะเวลาต่อเนื่องของระดับยาในกระแสเลือดที่สูงพอในการยับยั้งหรือฆ่าเชื้อโรคแล้วแต่กรณีไป ทำให้เกิดคำอีก 2 คำ ดังนี้
1) Concentration-dependent antibiotics คือ ยาปฎิชีวนะที่ฤทธิ์ในการทำลายแบคทีเรียขึ้นกับความเข้มข้นของระดับยาในเลือด ( แน่นอนว่าต้องให้ระดับยาสูงกว่าค่า MIC อยู่แล้ว แต่ความสำคัญอยู่ที่ยาประเภทนี้ยิ่งความเข้มข้นสูงกว่ามากเท่าไหร่ยิ่งดียิ่งสูงยิ่งมีฤทธิ์เพิ่มขึ้นมาก)
2) Time-dependent antibiotics คือ ยาปฎิชีวนะที่ฤทธิ์ในการทำลายแบคทีเรียขึ้นกับระยะเวลาที่ระดับยาในเลือดสูงกว่า MIC มีระยะเวลายาวนานเพียงพอ ( โดยที่ไม่ว่าระดับยาจะสูงกว่า MIC กี่เท่าก็ตามก็มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อเท่าเดิม )
ตัวอย่างยาที่ใช้ในปลา
1) ยาปฏิชีวนะที่มีเป้าหมายโจมตีที่ cell wall (เป็น bactericidal) เช่น ceftriaxone (Cef-3)( ฉีด )
2) ยาปฏิชีวนะที่มีเป้าหมายโจมตีที่ cell membrane (เป็น bactericidal) เช่น colistin, vacomycin
3) ยาปฏิชีวนะที่มีเป้าหมายโจมตีโดยไปรบกวนเอนไซม์ที่สำคัญของแบคทีเรีย (เป็น bactericidal) เช่น norfloxacin ( แช่ ), enrofloxacin ( ฉีด )
4) ยาปฏิชีวนะที่มีเป้าหมายโจมตีโดยมุ่งไปที่การสังเคราะห์โปรตีน (เป็น bacteriostatic) เช่น Chlortetracycline ( แช่ )
หลังจากเรียนรู้พื้นฐานการแบ่งกลุ่มแบ่งประเภทและเงื่อนไขในการออกฤทธิ์ของยาแล้ว เรามาดูความสัมพันธ์ของยา ceftriaxone (Cef-3) , norfloxacin, enrofloaxin (ฉีด) , chlortetracycline ทั้ง 4 อย่างนี้กัน
Bactericidal และ concentration-dependent antibiotics
|
Bactericidal และ
time-dependent antibiotics
|
Bacteriostatic และ
time-dependent antibiotics
|
Norfloxacin (แช่), enrofloaxin (ฉีด
|
ceftriaxone (Cef-3)
|
chlortetracycline
|
จากข้อมูลด้านบนเราอาจเขียนความสัมพันธ์ได้ดังนี้ครับ
1) เราไม่ควรใช้ยา chlortetracycline (แช่) รวมกับยา Norfloxacin (แช่), enrofloaxin (ฉีด) และ ceftriaxone (Cef-3) เนื่องจากยาจะต้านฤทธิ์กันเอง เพราะยา chlortetracycline จะทำให้เชื้อโรคหยุดการแบ่งตัวซึ่งทำให้ยา Norfloxacin (แช่), enrofloaxin (ฉีด) และ ceftriaxone (Cef-3) ไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น
2) ถ้าแช่ยา Norfloxacin แล้วจะฉีดยาเพิ่ม ผมแนะนำให้ฉีดยา ceftriaxone (Cef-3) ที่มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยา Norfloxacin เพื่อผลในการเสริมฤทธิ์กันเปรียบเหมือนการบุกตีเมืองจากทั้ง 2 ด้านทำให้เชื้อโรครับมือไม่ไหว ส่วนยา enrofloaxin (ฉีด)เป็นยากลุ่มเดียวกันกับยา Norfloxacin ซึ่งพึ่งพากลไกการออกฤทธิ์ที่คล้ายกัน
3) ceftriaxone (Cef-3) เป็น time-dependent antibiotics ดังนั้นเวลาใช้ยาควรให้เวลาปลาได้รับยาเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม การรักษาที่สั้นเกินไปอาจจะล้มเหลวได้ครับ การใช้ยาตัวนี้เรื่องช่วงระยะเวลาที่ฉีด ระยะห่างการฉีดและความถี่ของการให้ยาเป็นเรื่องสำคัญครับ
4) Norfloxacin (แช่), enrofloaxin (ฉีด) เป็น concentration-dependent antibiotics ดังนั้นยิ่งฉีดปริมาณสูงเท่าไหร่ยิ่งดี แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่ร่างกายปลารับได้นะครับ
5) Chlortetracycline เป็น bacteriostatic(เหมือนการขังให้เชื้อตายไปเอง) การรักษาต้องใช้เวลา ผลการรักษาจะเห็นช้ากว่ายาในกลุ่ม bactericidal(เหมือนการเอามีดเสียบให้ตาย) อย่างยา Norfloxacin
เพื่อนๆท่านใดเห็นว่าผมเขียนผิดพลาดตรงไหน แย้งได้เลยนะครับ ผมเขียนตามทีคิดครับอาจไม่ถูกต้อง 100% ครับ
No comments:
Post a Comment