Omosako Koi Farm Episode 2 : Changing of the Sumi
Omosako – มันค่อนข้างจะดีในแง่ของจำนวนลูกปลาที่ฟักเป็นตัวนะ
คำถาม – คุณได้ Kuroko เท่าไรครับ [Kuroko คือ ชื่อที่ใช้เรียกตัวอ่อนลูกปลาสีดำ(black fry)ทั้งตัวที่จะถูกเก็บไว้ในการคัดรอบแรกของปลาโชว่าและปลาอุจิริ]
Omosako – สัดส่วนของ Kuroko ไม่ได้ดีมาก
คำถาม – เท่าๆกับจำนวนที่คุณคาดว่าจะได้จากการเพาะโชว่าไหม
Omosako – น้อยกว่าครับ ชิโร่อุจิริให้ตัวอ่อนลูกปลา Kuroko น้อยกว่าโชว่า
คำถาม – น้อยกว่าโชว่า ได้ซัก 30 %ได้ไหมครับ
Omosako – น้อยกว่านั้นครับ อาจจะประมาณแค่ 10 % จากไข่ทั้งหมด ในบางครั้งอาจน้อยกว่านั้นอีก
คำถาม – นั่นดูเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเลยนะครับ……ไม่ทราบว่าไข่ทั้งหมดมีกี่ฟองครับ
Omosako – มันต่างกันในแต่ละปีครับ แต่ก็จะอยู่ระหว่าง 2 ถึง 4 หมื่น Kurokoต่อปีจากไข่ทั้งหมดมากกว่า 3 แสนฟองครับ
คำถาม – หลังจากคัด Kuroko เก็บไว้แล้วคุณหวังอะไรในการคัดครั้งต่อไปครับ
Omosako – เหมือนที่เราคุยกันมาก่อนแล้ว บางครั้งเราก็ได้ปลาที่กลายเป็นสีขาวทั้งตัวหลังจากที่เราคัดปลาครั้งแรกมาเก็บในฐานะ Kuroko นั่นเป็นกรณีที่เกิดขึ้นกับการเพาะครั้งนี้ ประมาณ 1 เดือนหลังจากเราแยก Kuroko แล้ว เราจะเริ่มเห็นคุณภาพสีดำในลูกปลา แม้แต่ตัวที่ไม่ค่อยจะมีดำก็ยังมีความเงาเหมือนไข่มุกได้ พวกปลาขาวไข่มุกจะไม่มีดำเลยในระหว่างหน้าร้อน และดันเป็นเวลาที่จะคัดพวกมันด้วยซิ และด้วยอุณหภูมิน้ำที่สูงจะทำให้สีดำหายไปชั่วคราว ซึ่งผมจะมองที่สีขาวเท่านั้นเวลาคัดปลาในช่วงนี้
คำถาม – นั่นคือสิ่งที่คุณให้ความสำคัญในการคัดครั้งต่อมาใช่ไหมครับ
Omosako – ใช่ครับ คุณจะไม่เห็นสีดำมากมายในหน้าร้อน ผมจึงไม่ให้ความสนใจมากนักในเรื่องนี้ แต่เมื่อฤดูใบไม้ร่วงมาถึง คุณจะเห็น “pepered sumi” รวมถึงครีบว่ายสีดำ
คำถาม – ตอนที่คุณเริ่มทำชิโร่อุจิริ คุณขายปลาโตไซด้วยหรือเปล่า
Omosako – ขายครับ
คำถาม – ถ้าอย่างนั้นคุณทำอย่างไรกับโตไซที่คุณต้องการจะเก็บไว้เป็น “tategoi”
Omosako – ในตอนนั้นเราไม่มีบ่อดินทำให้เราไม่สามารถเลี้ยงปลาทั้งหมดไว้ได้ และด้วยความจำกัดในเรื่องพื้นที่ทำให้เราต้องเก็บปลาไว้ในบ่ออย่างหนาแน่นพวกมันจึงไม่ค่อยโตนัก
คำถาม – ตอนนั้นคุณก็เลยเน้นการขายปลาเล็กเป็นหลักใช่ไหม
Omosako – ผมไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกมากนักในตอนนั้น และก็ต้องกล่าวด้วยว่าในตอนนั้นส่วนมากก็ไม่มีใครสนใจในเรื่องการทำปลาอุจิริให้เป็นจัมโบ้ มันไม่ใช่ความคาดหวังของทั้งบรีดเดอร์และผู้เลี้ยงเลย
คำถาม – เข้าใจครับ
Omosako – มันเป็นแบบนั้นหลายปีจนกระทั่งผมเริ่มสนใจพัฒนาชิโร่อุจิริและตั้งใจจะเพาะมันให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น
คำถาม – ฟังดูเหมือนว่าธุรกิจคุณในตอนนั้นเน้นการขายปลาโตไซและนิไซ
Omosako – โตไซและนิไซ …แค่นั้นผมก็ใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ไม่พอแล้วครับ
คำถาม – คุณได้ยินบ่อยๆว่ามีลักษณะของสีดำอยู่หลายแบบที่พบในปลาชิโร่อุจิริรุ่นๆ คุณพูดก่อนหน้านี้ว่าคุณเจอปลาที่กลายเป็นสีขาวทั้งๆที่คัดแยกมาเก็บในฐานะ Kuroko แล้วแท้ๆ มีโตไซที่ไม่สามารถพัฒนาสีดำขึ้นมาเลยตลอดชีวิตหรือไม่
Omosako – ด้วยความสัตย์จริง มีพวกที่เป็นแบบนั้นครับ
คำถาม – มีจำนวนเยอะไหมครับ
Omosako – ไม่ค่อยเยอะครับ แต่มีที่เป็นแบบนั้น
คำถาม – บอกได้ไหมครับว่าปลาอายุเท่าไรจึงจะบอกได้ว่าสีดำจะไม่ขึ้นแล้ว
Omosako – อืม…….ผมสามารถบอกได้โดยการดูที่ตัวปลาขณะที่มันยังรุ่นๆ( still young)
คำถาม – ขณะที่มีอายุเท่าใดครับ still young ที่ว่าเนี่ย
Omosako – ผมคิดว่ามันไม่สำคัญนักเรื่องตัวเลขอายุที่แน่นอนในเรื่องการยกธงขาวกับปลา บางทีอาจจะกล่าวได้ว่าที่อายุ 4 ปี มันเหมือนกับว่าใจครึ่งหนึ่งยอมแพ้แล้วไม่รอแล้วอีกครึ่งหนึ่งดูออกว่ารอยังไงก็ไม่มา (หัวเราะ ก๊ากๆๆๆๆๆๆ)
คำถาม – สรุปว่าก็ประมาณ 4 ปี
Omosako – ลองคิดดูว่าคุณมีชิโร่อุจิริที่ดีมากๆในด้านอื่นๆซิครับ มันอาจจะมีรูปร่างที่สุดยอดหรือมีสีขาวที่ดีมีเสน่ห์ มันไม่สำคัญเลยว่าจะอายุ 4 ปี หรือ 5 ปี…..ตราบเท่าที่คุณมีพื้นที่ว่างให้มันคุณก็จะเก็บมันไว้เพื่อดูว่ามันจะเป็นยังไงต่อไป อย่างน้อยที่สุดเป็นผมผมจะทำเช่นนั้น (หัวเราะ ก๊ากๆ)
คำถาม – นั่นสามารถเข้าใจได้ไม่ยากเลยครับ ถามต่อครับ คุณสามรถมองลวดลายออกหรือเปล่าเมื่อมองที่ปลาโตไซสีขาวนั้นๆ
Omosako – มองไม่ออกครับ ผมคิดว่าโตไซที่สามารถผ่านการคัดมาหลายรอบแล้วนั้นไม่น่าจะเลวร้าย ถึงแม้ว่าคุณจะมองลวดลายยังไม่ออก ปลาที่ไม่ดีจะถูกคัดออกไปหมดแล้ว ณ.จุดนี้
คำถาม – คุณหมายถึงว่าที่เหลือก็เป็นแค่เรื่องที่เราไม่รู้ว่าลวดลายของปลาแต่ละตัวจะเป็นยังไงใช่ไหมครับ
Omosako – ถูกต้องครับ ปลาที่ผมพูดถึงก่อนหน้านี้ตอนเป็นโตไซก็เป็นสีขาวทั้งตัวครับแต่ผมตัดสินใจเก็บเอาไว้เพราะมันมีรูปร่างที่ดี
คำถาม – นั่นหมายความว่าคุณดูที่รูปร่างปลาเป็นหลักมากกว่าลักษณะอย่างอื่น
Omosako – ใช่ครับ
คำถาม – คุณได้ยินบรีดเดอร์ท่านอื่นถกเถียงกันเรื่อง motoguro ในปลาชิโร่อุจิริตอนเล็กๆว่าควรเป็นแบบไหน คุณช่วยให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้หน่อยครับ
Omosako – ผมไม่มั่นใจว่าคนอื่นๆคิดยังไงแต่ผมไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องมีหรือไม่มี motoguro ในปลาไซด์นี้ครับ
คำถาม – ไม่สนใจเลยหรือ
Omosako – ไม่มีอะไรเป็นพิเศษครับ ไม่มี
คำถาม – หลายคนให้คำแนะนำว่าควรมองอะไรเวลาซื้อปลาโตไซ ให้ดูว่า motoguro เป็นยังไง
Omosako – อืม…สีดำมีการเปลี่ยนแปลงมากในปลานิไซและซานไซ ดังนั้นผมไม่อยากจะด่วนสรุปไปกับ motoguro
คำถาม – มันไม่มีอะไรต้องใส่ใจเลยหรือถึงแม้ว่าจะเป็นปลาโตไซที่ไม่มี motoguro เลย
Omosako – ถูกต้องครับ มันไม่ใช่เรื่องใหญ่เลยถ้าพวกมันไม่มี motoguro เมื่อตอนเป็นโตไซ ผมมีตัวอย่างให้ดูเยอะแยะ
คำถาม – สีดำในอุจิริรุ่นๆเปลี่ยนแปลงมากจริงไหม
Omosako – คุณจะเห็นสีดำเปลี่ยนได้จนอายุ 3 ปีเลย
คำถาม – แล้วมันเปลี่ยนตามฤดูไหม
Omosako – ตามที่คาดครับ พวกมันเปลี่ยนตามฤดู
คำถาม – เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำไหม
Omosako – มีส่วนครับ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดในปลา2ปี และ3ปี คือ motoguro คุณจะเห็นมันกลับมาในฤดูใบไม้ร่วงและเหมือนจากมกราคมถึงมีนาคม แต่เมื่อหน้าร้อนมาถึงมันก็จะหายไปอีก
คำถาม – แล้วฤดูไหนดีที่สุดที่คุณแนะนำให้มองหาโตไซชิโร่อุจิริ
Omosako – สิ้นฤดูใบไม้ร่วง ผมว่ามันเป็นช่วงที่ปลาดูดีที่สุดจนถึงเดือนมกราคม
คำถาม – แล้วปลาอายุเท่าไรสีดำถึงจะเริ่มนิ่งครับ
Omosako – นั่นยากที่จะสรุปเป็นคำพูดสั้นๆครับ แต่มันมีความแตกต่างกันในลูกๆครอกเดียวกัน บางตัวจะเริ่มนิ่งตั้งแต่เล็กๆเลยแต่ก็เหมือนที่ผมกล่าวก่อนหน้านี้ว่าสีดำบางตัวจะเริ่มนิ่งที่ 2 ปี บางตัว 3 ปี บางตัว 4 ปี และบางตัวพัฒนาอย่างช้าๆจนมาชัดเจนเมื่อ 5 ปี มันมีหลายแบบหลายชนิด มันเป็นไปไม่ได้ที่จะหาคู่พ่อแม่ปลาที่ผลิตลูกปลาที่มีสีดำเหมือนกันหมด
คำถาม – เข้าใจครับ ถ้ากล่าวถึงเรื่องนี้คุณคิดว่ามีความแตกต่างกันไหมในปลาชิโร่กับปลาโชว่า
Omosako – ผมคิดว่า ambiance of sumi แตกต่างกันครับ
คำถาม – ยังไงครับ
Omosako – อธิบายยากครับ ผมคิดว่ามันต่างกันตรงที่การออกมาของสีดำครับ และผมก็คิดว่ายังมีความแตกต่างกันในสีขาวด้วย(ระหว่างชิโร่กับโชว่า)
คำถาม – เราเคยคุยกันถึงชนิดของสีดำก่อนการสัมภาษณ์ และพูดถึงความคิดที่ว่ามีสีดำ 3 ชนิดที่แตกต่างกัน คุณช่วยอธิบายอีกครั้งว่ามันต่างกันอย่างไร
Omosako – The first type would be sumi that has an overall black appearance to it which we call “funazumi”, and next you have the type that starts out on utsuri that are all white and seems to kind of “sprinkle” out and then come together, and the other type is “aozumi” or sumi that has a bluish look to it in which the pattern merely intensifies….the sumi gets stronger but the pattern pretty much stays the same.(ต่อมาให้ดูในรูปนะครับ)
คุณจะเห็นความแตกต่างได้ในปลาทั้ง 5 ตัวนี้ ตัว A มีpattern มาตั้งแต่เกิดและคุณจะเห็นว่ามันค่อยๆดำขึ้นช้าๆ ส่วนตัว B และ C นั้นตอนเป็นโตไซไม่มีสีดำเลยแต่เริ่มแสดงสีดำเป็นเม็ดกระจายๆ( peppered sumi ) ที่เหมือนกับปักติดไปบนตัวปลา ผมถึงบอกว่าพวกมันทั้ง5ดูต่างกัน เอาหละมาดูตัว D และ E ซึ่งมีpattern ค่อนข้างที่จะเหมือนตอนเป็นโตไซและไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
(ขอแทรกความคิดเห็นนะครับ - จากที่อาจารย์ชัยเคยสอนผมมา
ผมคิดว่า สีดำของปลาA คือ ดำแบบ Asagi like Sumi
ส่วนสีดำของปลาB และ C คือ ดำแบบ Musashi
ส่วนปลา D และ E คือ ดำแบบ ที่ไม่ใช่ Pure asagi like)
คำถาม – คุณต้องเคยเห็นปลาชิโร่ที่มี Kage appearance จริงๆอยู่แล้ว ผมอยากทราบว่าสีดำของมันเปลี่ยนแปลงระหว่างที่มันโตหรือเปล่าครับOmosako – ส่วนใหญ่สีดำของมันมีแนวโน้มจะขึ้นมานะครับถึงแม้จะช้าแต่จะสวยทีเดียว มันจะดำขึ้นสวยทีเดียว
คำถาม – เมื่อตอนที่เรามาเยี่ยมคุณในช่วงฤดูใบไม้ร่วง มีปลา3ปีตัวหนึ่งในโรงเลี้ยงที่เข้าตาผม ตัวนั้นมีสีดำแบบเดียวกับปลา A ใช่ไหมครับ
Omosako – ใช่ครับมีสีดำแบบเดียวกัน (ถ้าคุณต้องเลือกสีดำ 1 แบบจากทั้ง 3 แบบ ) ปลาตัวนี้ค่อนข้างจะดำก่อนที่เราจะอวนปลาขึ้นมาจากบ่อดิน มันมีสีดำมากในระหว่างหน้าร้อน
คำถาม – จริงเหรอครับ
Omosako – ใช่แล้ว มันมันเริ่มเป็น Kage appearance ไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่จะทำการอวนปลา
คำถาม – ถ้าอย่างนั้นผมขอเดาว่าสีดำสามารถเปลี่ยนไปได้ทั้งสองทางไม่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล
Omosako – มันสามารถเป็นเช่นนั้นได้จริงๆ มีเรื่องเล่าตลกๆเกี่ยวกับปลา3ปีตัวนี้ ประมาณ 2 ปีก่อนหน้านี้มีปลานิไซตาเตะกอยตัวหนึ่งไม่ได้ถูกอวนขึ้นมาจากบ่อดินเนื่องด้วยมันหาทางหลบออกไปได้ยังไงก็ไม่รู้ขณะที่เราอวนปลากัน จากนั้นเราก็ใส่ปลาโตไซกลุ่มใหม่ลงไปแทน และเมื่อเราอวนปลาอีกครั้งเมื่อปีที่แล้วเราจึงได้ปลา3ปีมา..ซึ่งก็คือเจ้าปลาตัวนี้ แต่จริงๆแล้วเรารู้ว่าเกิดอะไรขึ้นตั้งแต่ตอนที่เราเห็นมันขึ้นมากินอาหารพร้อมๆกับพวกปลาโตไซละครับ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะมีปลาโคตรจัมโบ้โตไซอย่างนี้ (หัวเราะก๊ากๆๆ)
คำถาม – คุณทำมันหลุดรอดอยู่ในบ่อดินผ่านหน้าหนาวในบ่อดินนะหรือ
Omosako – ใช่ครับ สีดำของมันดูเหมือนจะจบระหว่างหน้าร้อนนี้แล้ว
คำถาม – คุณกล่าวเสมอว่าสีดำจะถดถอยในช่วงหน้าร้อนนี่ครับ
Omosako – มีชนิดของสีดำที่ตอบสนองแตกต่างกันเมื่ออยู่ในบ่อดิน บางตัวก็มีสีดำที่เข้มขึ้นเมื่อลงบ่อดินจนถึงเดือนมิถุนายน และดำจะถอยลงก่อนเวลาที่เราจะอวนปลาขึ้นมาในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ส่วนบางตัวดำก็หายไปเหมือนหลบในหายไปในช่วงอุณหภูมิสูงและจะกลับมาในช่วงเวลาที่เราอวนปลาขึ้นจากบ่อดิน
คำถาม – นี่เป็นดำแบบที่จะทน(ไม่หาย)หรือเปล่าครับ
Omosako – ผมไม่คิดว่าจะมีความแตกต่างกันมากในเรื่องนี้ครับ พวกมันมีการเปลี่ยนแปลงสูงตอนอยู่ในบ่อดิน แต่ถ้าเรารักษาสภาพแวดล้อมของบ่อเลี้ยงเราให้ดีเราก็สามารถรักษาสีดำเอาไว้ได้นานเลยทีเดียว
คำถาม – เข้าใจครับ แล้วคุณคิดว่าคุณต้องคอยตรวจสอบปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เหมาะกับปลาชิโร่อุจิริหรือปลาพวกที่มีสีดำพันธุ์อื่นๆเพื่อรักษาสีดำด้วยหรือไม่ จากที่ได้ยินกันในวงสนทนาเหมือนกับว่ามีบางคนคิดอย่างนั้น
Omosako – ผมก็ไม่ได้ทำอะไรเป็นพิเศษแบบนั้นซะด้วยซิ ผมคิดว่าที่สำคัญก็คือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับปลาและผมก็ไม่คิดว่าเราอยู่ในจุดที่สามารถบอกได้ว่าอะไรเป็นสภาพแวดล้อมในอุดมคติกับปลาชิโร่อุจิริ…..ถ้าสภาพแวดล้อมในอุดมคตินั้นมีอยู่จริงนะ
คำถาม – คุณคิดว่าสิ่งสำคัญคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับปลาแล้วสิ่งนี้ใช้ได้กับทั้งบ่อคอนกรีตและบ่อดินเลยหรือเปล่า
Omosako – ผมคิดแบบนั้น ผมไม่คิดว่ามีสภาพแวดล้อมใดเป็นพิเศษจริงๆที่เหมาะกับปลาหนึ่งๆ ไม่คำนึงถึงสายพันธุ์หรือจำนวนฤดูที่แตกต่างกัน ผมคิดว่ามันเป็นการดีที่สุดที่จะเน้นไปที่สภาพแวดล้อมของสถานที่ที่คุณปล่อยปลาลงไปก่อนที่จะไปสนใจเรื่องอื่นๆ
คำถาม – มีความเกี่ยวข้องกันไหมระหว่างสีดำกับความกระด้างของน้ำ( water hardness )….รวมถึงผลกระทบใดๆกับสีดำ
Omosako – จากประสบการณ์ของผม สีดำมีแนวโน้มที่จะถอยลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ..ครั้งหนึ่งผมถูกเชิญไปเป็นกรรมการตัดสินงานประกวดที่ประเทศมาเลเซียตามคำเชิญของดีลเลอร์ที่นั่น เมื่อผมถามเขาว่าอุณหภูมิที่นั่นเท่าไร เขาตอบผมว่าสูงทีเดียวและจะสูงอย่างนั้นจนผมไปที่นั่นตอนเดือนกันยายน ผมคิดซักครู่แล้วบอกเขาไปว่าถ้าอุณหภูมิสูงดำจะไม่ดีจึงไม่น่าจะจัดงานประกวดในเวลานั้น สุดท้ายผมก็ไปตัดสินที่งานนั้นและต้องตกใจทีเดียวที่เห็นปลาหลายตัวมีสีดำที่สวยงามซึ่งมันตรงข้ามกับที่ผมคิดไว้ และนั่นทำให้ผมเริ่มคิดว่าไม่ใช่แค่อุณหภูมิเท่านั้นทีส่งผลต่อสีดำ
คำถาม – ยกตัวอย่างเช่น ความกระด้างของน้ำ( water hardness )ใช่หรือเปล่าครับ
Omosako – ผมไม่แน่ใจกับเรื่องนั้น แต่ที่แน่ๆต้องเป็นอะไรซักอย่างที่ดูแลรักษาสีดำไว้
คำถาม – ตอนนั้นคุณตกใจใช่ไหม
Omosako – ใช่ครับผมตกใจทีเดียว มีลูกค้าคนหนึ่งถามผมว่าเขาสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้สีดำออกมาได้ดีขึ้น และผมตอบเขาไปว่า”ผมเสียใจครับ แต่ผมต่างหากที่หวังว่าคุณจะบอกผมได้”(หัวเราะ)
คำถาม – คุณตอบแบบนั้นจริงๆหรือ
Omosako – ใช่ครับ สีดำที่ออกมาที่นั่นดีกว่าที่นี่(ฮิโรชิม่า)ซะอีก ผมคิดว่ามันต้องมีอะไรซักอย่างเช่นความกระด้างของน้ำ( water hardness ) เพราะที่แน่ๆไม่ใช่อุณหภูมิ ที่งานนั้นมีปลามากมายที่สีดำจบสวยงามดังนั้นผมคิดได้แค่ว่ามันไม่ใช่อุณหภูมิเท่านั้นที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสีดำ
คำถาม – กลับมาที่เรื่องโชว่าอีกครั้ง มีบรีดเดอร์และมือสมัครเล่นที่อ้างว่าบ่อดินทรายจะดีที่สุดกับปลาที่มีสีดำสำหรับเมื่อปลาโตไซและนิไซ คุณคิดเห็นเช่นใดกับเรื่องนี้
Omosako – ผมคิดว่าส่วนดีอยู่แน่นอนในความคิดนั้น นี่เป็นเรื่องที่คนกล่าวถึงกันมาตลอด
คำถาม – คุณคิดว่ามีหลักการอะไรอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ไหมครับ
Omosako – ผมไม่แน่ใจแต่มันต้องมีอะไรสักอย่างแน่ๆถึงทำให้คนพูดถึงมานาน แต่ผมก็ไม่ศึกษาหาสาเหตุของมัน(หัวเราะ)
คำถาม – ถ้าไม่ต้องสนใจเหตุผลคุณเชื่อว่ามันเป็นเรื่องจริงไหมครับ
Omosako – ใช่ครับผมเชื่อ ผมเชื่อว่ามันต้องมีอะไรสักอย่างแน่ๆ
คำถาม – เข้าใจครับ คุณช่วยอธิบาย “ tsuya sumi กับ honzumi” หน่อยครับ
Omosako – ผมคิดว่า tsuya sumi และ honzumi จะคล้ายๆกัน ถ้าคุณจินตนาการถึงมะเขือสีม่วง(eggplant) ผมคิดว่าคุณจะสามารถมองภาพออกได้ว่ามันหมายความว่าอย่างไร มะเขือจะเข้มและสุกใสอีกทั้งยังมองดูสดด้วย นั่นแหละที่เรียกว่า honzumi
คำถาม – มันเป็นสีดำที่มาช้าหรือเร็วครับ
Omosako – นั่นไม่ใช่สิ่งที่กล่าวถึงมากเท่ากับเรื่องคุณภาพและสีของปลา honzumi จะเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือสีม่วง คุณจะเห็นในปลาที่มีสีดำขึ้นมาแล้วหรือในปลาตาเตะกอย ผมคิดว่ามันเป็นสีดำที่ดีที่สุดและผมคิดว่าใครๆก็มองเช่นนั้น
คำถาม – ตาเตะกอยหมายถึงปลาที่จะดีถ้ามันได้พัฒนานั่นนิดนี่หน่อย
Omosako – ประมาณนั้นครับ ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณภาพของสีดำและความสมดุลดีแต่คุณปรารถนาให้ดำมันวิ่งไปทางด้านหลังแล้วละก้อ นั่นก็คือตาเตะกอยครับ นั่นเป็นอะไรที่คุณมักจะได้ยินพวกมืออาชีพใช้กัน(หัวเราะ)
คำถาม – ผมเข้าใจครับ
Omosako – กลับมาที่คำถามของคุณเกี่ยวกับ honzumi ผมเดาว่าวิธีที่ง่ายที่สุดในการอธิบายคือ มัน เข้ม สุกใสและมีเหลือบมันวาวดี ( Dark and shiny like an eggplant.)
************************************************************************
ขอบคุณค่าาา
ReplyDeleteยินดีครับ ผมว่า Omosako ตอน2นี้
ReplyDeleteมีประโยชน์มากครับ
หวังว่าเพื่อนๆคงชอบ
ขอบคุณมากๆเลยครับพี่เต่า เอาความรู้ดีๆมาให้ศึกษา มีประโยชน์มากครับ ผมจะติดตามและรอชมตลอดไปเลยนะครับ ขอเป็นกำลังใจในการทำBlogดีๆแบบนี้ครับ ( TON_GREEN_FIT )
ReplyDelete