Omosako Koi Farm episode 4 : Father to sons

Omosako Koi Farm episode 4 : Father to sons 

ในตอนที่แล้วเราได้แนะนำผู้อ่านให้รู้จักบรีดเดอร์ที่มีชื่อเป็นความหมายเดียวกับคำว่า”ชิโร่อุจิริ” นั่นคือ Omosako  และ Omosako เป็นมากยิ่งกว่ากับคำกล่าวขานถึงเขาว่าเป็น ” ผู้สร้าง(maker) ” หรืออีกนัยหนึ่ง คือบุคคลที่ทุกคนจับตามองในความสามารถเฉพาะของเขา และเป็นสถานที่ๆไปเพื่อหาพ่อและแม่พันธุ์ปลา คุณได้อ่านไปแล้วเกี่ยวกับเรื่องการเริ่มต้นและความขลุกขลักเพื่อที่จะปรับปรุงปลาสายพันธุ์นี้และนำมันมาอยู่แถวหน้า บทสรุปของการสัมภาษณ์เราจะเน้นลงไปที่บุคคล 2 คนที่จะรับช่วงต่อไปในอนาคต คือ บุตรชายของเขา Takayoshi และ Takahiro ทั้ง 2 คน พวกเขาเล่าถึงการแยกกันไปฝึกฝนทักษะ ส่วนผู้พ่อจะตอบคำถามเกี่ยวกับการพัฒนาชิโร่ที่พวกเขาสร้างสรรค์ขึ้นมา

คำถาม – Takayoshi คุณไปฝึกฝนทักษะการเพาะปลาที่ Dainichi ถูกต้องไหมครับ

Takayoshi – ถูกต้องครับ

คำถาม –  นานเท่าไรครับ

Takayoshi – 5 ปีครับ

คำถาม –  อะไรทำให้คุณเลือกที่จะไปที่นั่นครับ

Takayoshi – อืม…..

Omosako – เอาเลย บอกเขาไปเถอะ

Takayoshi – เป็นเพราะพ่อผมแนะนำครับ

คำถาม – คุณมีสายสัมพันธ์กับ Mr. Minoru Mano of Dainichi โดยตรงหรือเปล่าครับ

Omosako –ไม่ใช่กับ Mr. Minoru Mano เอง แต่มีกับ Mr. Nogami ( Hisato Nogami of Nagaoka ศิษย์เก่าของ Dainichi)และผู้จัดการทั่วไป Mr.Takashi Hirasawa ผมได้พุดคุยกับ 2 คนนี้เกี่ยวกับเรื่องที่จะส่ง Takayoshi ไปฝึกทำงานที่นั่น

คำถาม –  คุณรู้จัก 2 คนนี้เป็นอย่างดีใช่ไหมครับ

Omosako – ใช่ครับ ผมเคยขึ้นไป Dainichi นานมาแล้วกับพ่อของผมเพื่อซื้อปลามาขาย เราคุ้นเคยกับประธาน Dainichi คนก่อน แต่สำหรับคนอย่างเราๆแล้วประธานคนก่อนเปรียบเสมือนบุคคลที่อยู่สูงขึ้นไปและมีบรามีมากครับ เราจึงซื้อขายกับ Mr. Nogami และ Mr.Hirasawa ตลอด ผมรู้จัก Mr. Nogami ดีมากพอที่จะขอให้เขาช่วยเกี่ยวกับการส่ง Takayoshi ไปฝึกงานที่ Dainichi

คำถาม – Dainichi เป็นที่รู้จักดีเกี่ยวกับโคฮากุ ซันเก้ และ โชว่า คุณได้มีการจองเอาไว้ก่อนไปฝึกไหมครับ เพราะดูจากที่ครอบครัวคุณเชี่ยวชาญปลาสายเดียวเท่านั้น

Takayoshi – นิดหน่อยครับ ขนาดการผลิตนั้นใหญ่กว่าเรามากครับและมีปลาขนาดใหญ่มากหลายตัวที่นั่น มันค่อนข้างจะกดดันนิดหน่อยในตอนแรกแต่ผมก็ได้เรียนรู้ในหลายๆด้านเกี่ยวกับการเพาะปลาระหว่างที่อยู่ที่นั่น

คำถาม –  ตอนที่คุณอยู่ที่นั่น Mr.Minoru Mano ยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่าครับ

Takayoshi – ใช่ครับเขายังมีชีวิตอยู่ เขาจากไปเมื่อฤดูใบไม้ร่วงตอนปีที่ 3 ที่ผมอยู่ที่นั่น

คำถาม –  อะไรเป็นความทรงจำที่ดีที่สุดตอนที่คุณอยู่ที่นั่นครับ และอะไรเป็นเรื่องที่เปิดหูเปิดตาคุณที่สุดที่คุณเรียนรู้จาก Mr.Mano ครับ

Takayoshi – อืม…ผมมีความทรงจำที่ดีหลายเรื่องที่นั่น พวกเรามีความสนิทสนมกันมากและผมก็มองย้อนกลับไปด้วยความชื่นชมทุกครั้ง ส่วนเรื่องการเรียนรู้ผมเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างมันยากที่จะบีบเรื่องทั้งหมดให้เหลือเพียงเรื่องเดียว ผมได้เห็นปลาที่เหนือกว่าปลาธรรมดาทั่วไปจากทั่วประเทศในระหว่างที่ผมใช้เวลาที่นั่น โดยรวมแล้วผมว่าการที่มีโอกาสได้เห็นและศึกษาปลาเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมที่สุดแล้วครับ

คำถาม –  Mr.Hisashi Hirasawa (Marudo) บอกผมว่า Mr.Minoru Mano จะมาและบอกให้เขาดูปลานิไซตัวนั้นตัวนี้ว่าจะดีขึ้น และ ตัวนี้จะไม่พัฒนาแล้ว เขาได้สอนคุณแบบนั้นด้วยหรือไม่

Takayoshi – เขาทำแบบนั้นครับ การคาดการณ์ของเขาไม่เคยพลาดครับ

คำถาม –  เขาเคยบอกถึงสาเหตุไหมครับว่าทำไมปลาตัวไหนจะพัฒนาได้และปลาตัวไหนจะทำไม่ได้ครับ

Takayoshi – ไม่ครับ เราไม่เคยได้รับการบอกกล่าวเรื่องนั้นครับ มันไม่ใช่การเรียนรู้ว่าจะดูปลาอย่างไรแต่มันสำคัญว่าเราถูกแนะนำให้คอยสังเกตุและจดจำเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อดูด้านที่ดีของปลาตัวนั้นและมองเทียบกับตัวอื่นๆ

คำถาม –  นั่นคล้ายๆกับที่ Mr.Hisashi Hirasawa (Marudo) ตอบเช่นกันครับ

All – (หัวเราะกันกลิ้งไปเลย อิอิ)

คำถาม –  เอาหละกลับมาที่คำถามเดิม อะไรคือ ความทรงจำที่ดีที่สุดของคุณที่นั่นครับ

Takayoshi – ความทรงจำที่ได้เจอคนมากมายจากทั่วประเทศ ทั้งดีลเลอร์ นักเลี้ยงปลา และบรีดเดอร์หลายๆคน

คำถาม –  คุณต้องได้เรียนรู้เกี่ยวกับปลาหลักบ้างละ…

Takayoshi – ไดนิชิผลิตแต่ปลาหลัก ดังนั้นผมจะสนใจสิ่งอื่นนั้นเป็นไปไม่ได้นอกจากปลาหลักเหล่านั้น

คำถาม –  ถ้าอย่างนั้นปลาอะไรที่คุณชอบที่สุดที่อยู่ในใจครับ

Takayoshi – ต้องโชว่าแน่นอนครับ

คำถาม –  คุณคิดว่า สายเลือดไดนิชินั้นดีที่สุดของปลาโชว่าหรือไม่

Takayoshi – จะว่าอย่างนั้นก็ได้ครับ

คำถาม –  ผมว่าปลาโชว่านั้นมีสายเลือดไม่มาก นอกจากไดนิชิแล้ว ก็มี Takedaและ อื่นๆจริงไหม

All –  (ทุกคนเห็นด้วย)

คำถาม –  มีแผนสำหรับการผลิตปลาหลักที่นี่ไหมครับ

Takayoshi – มีครับ เรามีพ่อแม่พันธุ์บางแล้วซึ่งคุณน่าจะเห็นแล้วในโรงเลี้ยงนะครับ

คำถาม –  เราจะรอดูนะครับ (เปลี่ยนการสนทนาไปที่ Takahiro) คุณไปอยู่ที่ US กี่ปีครับ

Takahiro – 3ปีครึ่งครับ

คำถาม –  ไปอยู่ที่ Pan Intercorp ใช่ไหมครับ แล้วคุณได้เรียนรู้อะไรบ้างครับ

Takahiro – ผมว่าผมรู้ถึงมุมมองในการชื่นชมปลาคราฟของชาวอเมริกันมากขึ้นครับ อีกอย่างผมได้รู้ว่าปลาสายพันธุ์ไหนที่คนชอบและรู้วิธีการทำธุรกิจที่นั่น เชื่อหรือไม่ว่าผมไม่ได้มองปลามากขนาดนั้นจนกระทั่งผมไปอยู่ที่นั่นครับ

คำถาม –  คุณคิดว่าคนญี่ปุนกับคนอเมริกันมองปลาต่างกันอย่างไรครับ

Takahiro – ผมว่าคนที่ไม่เข้าใจปลาคราฟว่าเป็นอย่างไรจะมองมันแค่สัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งเท่านั้น

คำถาม –  คุณหมายถึงว่าคนที่นั่นสนใจปลาเงาปลาเมทัลลิคมากกว่าใช่ไหมครับ

Takahiro – ผมว่าในตอนแรกๆคนจะมองปลาอย่างง่ายๆและจะชอบที่สีต่างๆในสายพันธุ์ต่างๆ

คำถาม –  คุณคิดว่าระดับความสนใจเพิ่มขึ้นไหมตลอดระยะเวลาที่คุณอยู่ที่นั่น

Takahiro – ผมคิดว่าเพิ่มขึ้นนะครับ ลูกค้ามองหาปลาที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และ Joel ก็พยายามไปเรื่อยๆเพื่อมองหาพวกเขา คนที่รู้มากๆอยู่แล้วน่าสนใจมาก ใช้เวลาแค่ไม่มากวิธีที่เขามองปลาก็เปลี่ยนไป

คำถาม –  เข้าใจครับ ผมยังมีอีก 2-3 คำถามก่อนที่เราจะจบการสนทนาครับ ช่วยอธิบายความคิดของคุณเกี่ยวกับปลาอุจิริในรูปนี้หน่อยครับ

Omosako – แน่นอนครับ อย่างที่เห็นครับว่าสีดำส่วนใหญ่ขึ้นมาแล้วครับ และพื้นที่บริเวณไหล่ที่ต้องรอการพัฒนาสีดำจะพัฒนาได้และจบอย่างสวยงาม ผมอยากให้คนมองมันแบบนั้นแล้วจิตนาการความสวยงามของลวดลายมันอย่างที่มันจะเกิดขึ้นในอนาคตครับ ถึงแม้ตอนนี้มันจะมี  Motoguro ที่สวยงามน่าดึงดูดแต่ตอนโตไซมันเป็น Beta-guro ปลาตัวนี้มีความเปลี่ยนแปลงมากมายจากโตไซไปเป็น นิไซและซานไซ

คำถาม –  มองที่ภาพตอนโตไซ คุณคิดหรือไม่ว่าอนาคตมันจะกลายเป็นปลาที่ดีขนาดนี้

Omosako – โดยส่วนมากผมมองออกครับ ผมบอกได้โดยการมองที่ตัวมันว่ามันจะพัฒนาได้ในระดับหนึ่งครับ

คำถาม –  แล้วคุณมองว่าต่อไปมันจะเปลี่ยนแปลงเป็นเช่นใดครับ

Omosako – ผมไม่คิดว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปมากกว่านี้ครับ บางทีสีดำใต้ผิวบริเวณหัวอาจจะออกมาและเชื่อมกับลายบนตัว คุณเห็นช่องว่างระหว่างลายมารูเต็งไหมครับ ผมคิดว่ามันจะติดกันกับสีดำบนไหล่อีกข้างหนึ่ง

คำถาม –  คุณกำลังจะบอกว่าลายสีดำจะนิ่งและไม่เปลี่ยนแปลงมากใช่ไหมครับ

Omosako – เนื่องจากเราเลี้ยงปลาตัวนี้ในบ่อปูนที่โรงเลี้ยง คุณดูได้เลยว่าตอนมันเป็นนิไซถ้าสีดำมันจะมาคุณต้องเห็นมันตอนนี้แล้วละ แต่ถ้าสมมุติว่ามันเป็นปลาที่ถูกเลี้ยงในบ่อดินละก็มันจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมากหลังจากนี้ครับ ผมคิดว่าส่วนใหญ่จะขึ้นกับทักษะของเจ้าของปลาครับ(คิดซักครู่) ผมอยากให้คิดกันใหม่เกี่ยวกับเรื่องครีบว่ายครับ ยกตัวอย่างเช่น คนจะมองข้ามปลาอุจิริดีๆเพียงเพราะว่าครีบว่ายมันเป็นสีดำหรือเป็นเส้นๆสีดำ อย่างที่คุณเห็นปลาตัวนี้เมื่อตอนโตไซมีสีดำที่ครีบว่ายเป็นเส้นๆแต่มันรวมเข้ากันอย่างดีเมื่อมันโตขึ้นและที่หางก็เช่นกัน สุดท้ายมาดูซิครับว่ามันกลายเป็นปลาที่สวยขนาดไหนครับ ผมหวังว่านักเลี้ยงมือสมัครเล่นจะคิดให้มากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่องที่เขาจะถูกชักจูงให้เชื่อครับ

คำถาม –  ปลาตัวนี้บอกอะไรเราได้เยอะเลยครับ ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่จะต้องตกใจด้วยวิธีที่มันเปลี่ยนแปลงออกมาโดยยิ่งถ้ามองเมื่อตอนมันเป็นปลาโตไซด้วยแล้ว ผมคิดว่าคนญี่ปุ่นแต่ละคนมีวิธีการดูสีดำของตนเองเหมือนกับความชอบส่วนตัว  คุณคิดกับเรื่องนี้อย่างไร

Omosako – ผมไม่คิดว่ามีชนิดของสีดำมากนักให้ติดตามแต่เรื่องลวดลายสีดำนี่มีมากมายหลายแบบกว่า เช่นบางคนชอบลายแบบ Ichimatsu เหมือนปลาตัวนี้ ขณะที่บางคนชอบแบบดำน้อยๆ บางคนชอบดำแบบพลังและเคลื่อนไหวเยอะๆเหมือนที่เคยนิยมในอดีต

คำถาม –  มีใครมองหาปลาโตไซแบบขาวทั้งตัวไหมครับ

Omosako – มีครับ พวกเขาซื้อด้วยจุดหมายเดียวกัน คือ ให้มีสีดำเหมือนอย่างนี้(ชี้ไปที่รูปอีกครั้ง) นั่นเป้นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาดูแลปลาพวกนี้อย่างดีและดูมันพัฒนาขึ้นมา

คำถาม –  พวกเขามีความสุขกับการดูการพัฒนาของสีดำและการเจริญเติบโตของมันหรือครับ

Omosako – ผมคิดอย่างนั้นครับ ส่วนมากคนที่มาจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้(พวกเรานี่หว่า)จะชอบซื้อปลาแบบสีขาวๆไปบ้านและ finish มัน

คำถาม –  มีคำแนะนำอะไรกับนักเลี้ยงบ้างครับ

Omosako – ผมแนะนำว่าควรจะซื้อปลาเล็กที่มีลักษณะสีดำที่ต่างกันลองไปเลี้ยงเพื่อศึกษาดูด้วยวิธีการเลี้ยงของคุณเอง มันมีกรณีที่ต่างกันแบบสีดำมนรูปนี้และอาจจะเกิดกรณีที่สีดำขึ้นมาจากสีขาวที่ไม่เคยมีดำมาก่อนเลยก็ได้ ผมคิดว่าเรื่องสีดำนั้นส่วนมากจะขึ้นกับสภาพของแต่ละบ่อไปครับ

ผู้ถามกล่าวจบการสนทนา –  เป็นคำแนะนำที่ดีจริงๆครับ ผมต้องขอขอบคุณทั้ง 3 คนมากนะครับที่เสียสละเวลาให้เราวันนี้ มันเป็นการสนทนาที่น่าสนใจมากครับ และผมจะรอพบคุณอีกในฤดูใบไม้ร่วงนะครับ

2 comments:

  1. ขอบคุณพี่เต่ามากๆนะครับ ผมชอบมากๆเลยครับได้ความรู้ขึ้นอีกเพียบเลย มีสิ่งนึงที่ตรงกับความตั้งใจของผมก็คือ " Omosako – ผมแนะนำว่าควรจะซื้อปลาเล็กที่มีลักษณะสีดำที่ต่างกันลองไปเลี้ยงเพื่อศึกษาดูด้วยวิธีการเลี้ยงของคุณเอง " นั่นคือสิ่งที่ผมกำลังตั้งใจศึกษาอยู่ขณะนี้ .... :) :) :)

    ReplyDelete
  2. ขอให้ประสบความสำเร็จครับ น้องต้น

    ReplyDelete

TKKG We Care Project 6

ZNA Local Certified Judge

Search This Blog

บทความที่ได้รับความนิยม

Followers

How to follow my blog

My Facebook