ดูสีดำแบบบรีดเดอร์ (SUMI TALK)
(แปลจากบทความ Sumi talk ในหนังสือ Nichirin ฉบับเดือนสิงหาคม 2008)
ในช่วงปลายเดือนตุลาคมของทุกปี จะมีงานประกวดปลาคาร์ฟงานใหญ่ๆ2งานด้วยกัน ซึ่งงานหนึ่งจัดที่Hiroshima และอีกงานจัดที่ Niigata งานประกวดทั้ง 2 งานดังกล่าวเรียกตามภาษาญี่ปุ่นว่า “Nogyo-Sai” และผลการประกวดเมื่อ2ปีที่แล้วปรากฏว่าปลาไดนิชิโชว่าได้รับรางวัลแกรนด์แชมเปี้ยนของงาน 46th Niigata Nogyo-Sai และ ปลาโคนิชิโชว่าได้รับรางวัลแกรนด์แชมเปี้ยนของงาน 43rd Hiroshima Nogyo-Sai ในฤดูใบไม้ร่วงในปีเดียวกัน ดังนั้นในวันนี้Mr.Susumu Fujita (สมาชิกของZNAสาขาHiroshima) ได้เชิญ
Mr.Futoshi Mano (Dainichi Koi Farm)
Mr.Toshikatsu Konishi
มาที่เมืองHiroshima เพื่อพูดคุยกันถึงเรื่อง
“วิวัฒนาการของสีดำในปลาโชว่าและซันเก้”
Kobayashi Showa
เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึง Kobayashi Showa Mr. Joji Konishi : มันเป็นเรื่องเมื่อประมาณปี1965 ที่ Kobayashi Showa กลายเป็นจุดสนใจขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปลาโชว่าของหมอคุโรกิ ได้รับรางวัลแกรนด์แชมเปี้ยนในงาน 1st ZNA All Japan Show และ Kobayashi Showa อีกตัวหนึ่งก็ได้รับรางวัลแกรนด์แชมเปี้ยน 5th Niigata Nogyo-Sai
Mr.Susumu Fujita : สีดำของปลาโชว่าในยุคต้นๆ (หมายรวมถึง Kobayashi Showa) จะฟอร์มตัวคล้ายกับเข็มขัดหนาๆพาดที่ช่วงท้องของปลา และฉันคิดว่าหลังจากนั้นสีดำในปลาโชว่าก็พัฒนาขึ้นอย่างมาก
Mr. Joji Konishi : ตามประวัติแล้ว มีปลาโชว่าเพียงไม่กี่ตัวที่ชนะรางวัลแกรนด์แชมเปี้ยนในงาน All Japan ทั้งๆที่สีดำของพวกมันก็พัฒนาขึ้นแล้ว ความจริงก็ คือ ปลาโชว่าไม่สามารถเจริญเติบโตได้มากพอที่จะไปแข่งขันกับปลาโคฮากุได้
Mr.Toshikatsu Konishi : เป็นเพราะพ่อของคุณนั่นแหละที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาปลาโชว่าให้มีขนาดใหญ่ได้ (พูดกับ Mr.Futoshi Mano)
Mr.Futoshi Mano: พ่อของฉันรักปลาโชว่ามากจริงๆ
Mr. Joji Konishi : ปลาโชว่าที่มีขนาดใหญ่ๆในปัจจุบันส่วนมากได้รับการถ่ายทอดคุณสมบัติทางด้านรูปร่างมาจากปลา Dainichi Showa ไม่มากก็น้อย ซึ่งปลาโชว่าของพวกเราก็เป็นเช่นนั้น
Mr.Susumu Fujita : ฉันรู้จักปลาโชว่าตัวหนึ่งซึ่งเพาะโดย Konishi Koi Farm มีขนาดถึง94 เซนติเมตร ซึ่งเป็นเรื่องที่พิเศษมากๆที่จะมีปลาที่มีขนาดเกิน90 เซนติเมตร ในช่วงเวลาสิบกว่าปีที่แล้ว ฉันยังจำได้ถึงรูปร่างที่ดีอย่างไม่น่าเชื่อของมัน (ได้รับรางวัลแกรนด์แชมเปี้ยนในงาน 26th ZNA All Japan Show in 1990)
Mr.Toshikatsu Konishi : แน่นอน ฉันจำมันได้ดี ปลาโชว่าตัวนั้นไม่ได้ดูดีเลย ตั้งแต่เด็กจนอายุ3ปี มันน่าพิศวงจริงๆ
Mr. Joji Konishi : ใช่เลย…มันไม่ได้มีภาพของปลาคุณภาพสูงเลยในตอนแรก รูปร่างก็เล็ก ข้อหางก็เล็ก แต่แล้วมันก็เปลี่ยนแปลงเมื่อมันถูกย้ายไปลงบ่อดินบ่ออื่น ปลาบางตัวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันทีในสภาพแวดล้อมที่ต่างไป
Mr.Futoshi Mano : มันเป็นกรณีเดียวกันกับปลา Kato Inazuma Showa มันมีขนาดเล็กมากกว่าตัวอื่นจนกระทั่งอายุได้ 3-4 ปี จึงเกิดความเปลี่ยนแปลง ตอนนั้นเมื่อให้อาหารมากมันจะดูเหมือนปลาท้องบวม ซึ่งทำให้เรากลัวว่ามันจะตาย
Mr.Susumu Fujita : ในที่สุด Kato Inazuma Showa ก็ได้รับรางวัลแกรนด์แชมเปี้ยนในอีก2ปีต่อมา และฉันเองก็เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินในงานนั้นด้วย มันเป็นปลาโชว่าที่งดงามอย่างที่ยากจะลืมเลือน
Mr.Futoshi Mano : Kaga Sumi ของมัน ปรากฎชัดขึ้นมามากขึ้นอีกนิดหลังจากได้รับรางวัลแกรนด์แชมเปี้ยนแล้ว Kaga Sumi เป็นหนึ่งในเสน่ห์ดึงดูดของปลาโชว่า
Mr. Joji Konishi : Kato Inazuma Showa มีความสมดุลอย่างมากในทุกๆด้าน และสีแดงของมันก็โดดเด่น เงางามเหลือเกิน ปลาคาร์ฟเป็นอะไรที่ทำนายไม่ได้ ปลาโชว่ามันน่าพิศวงจริงๆ
ต่อมากล่าวถึงสีดำในโชว่า (Sumi of Showa)
Mr.Susumu Fujita : ฉันคิดว่าสีดำในปลาโชว่ามีวิวัฒนาการมากกว่าสีดำในปลาซันเก้
Mr. Joji Konishi : ถูกต้องครับ หลายปีก่อนปลาซันเก้จะมีสีดำที่ดีกว่า ในบางครั้งปลาซันเก้ถูกผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาโคฮากุเพื่อที่จะผลิตปลาซันเก้ที่มีรูปร่างดี การผสมข้ามสายพันธุ์นั้นๆ ให้ผลผลิตปลาซันเก้ที่มีขนาดใหญ่แต่ก็ทำให้สูญเสียคุณภาพสีดำแบบดั่งเดิมไป (ความคิดนี้ก็ขึ้นกับผู้เพาะพันธุ์แต่ละท่าน)
Nichirin: Mr.Susumu Fujita ให้คำแนะนำบ่อยๆว่าควรตรวจสอบดูคุณภาพของสีดำบนครีบว่ายเพื่อทราบถึงคุณภาพสีดำของปลาตัวนั้น คุณคิดอย่างไรกับคำแนะนำนี้
Mr. Joji Konishi : ถ้าปลาโชว่ามี Motoguro Sumi บนครีบว่ายให้ดูความคมของสีดำเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด และให้ตรวจสอบสีดำบนครีบทุกครีบของตัวปลาด้วย Kiwa of sumi ที่คมบนครีบว่ายสามารถบอกว่าสีดำบนตัวปลาก็จะดีด้วย ยกตัวอย่างเช่น (ชี้ไปที่รูป) ปลาโชว่าตัวนี้มีสีดำเล็กๆที่ฐานของครีบว่ายข้างหนึ่งซึ่งมันคมมากและแน่นมาก
Mr.Futoshi Mano : ปลายของสีดำต้องหยุดอย่างชัดเจน ไม่วิ่งออกไป
Mr.Susumu Fujita : สีดำบนครีบว่ายที่มีคุณภาพก็จะหมายถึงสีดำที่มีคุณภาพบนตัวปลาทั้งตัว
Mr. Joji Konishi : ถ้า Motoguro Sumi ลามขึ้นไปบนแกนกระดูกของครีบว่ายก็จะบอกเป็นนัยว่าสีดำในปลาตัวนั้นจะมีคุณภาพไม่ดี ฉันเรียนรู้เทคนิคนี้เมื่อตอนที่ฉันเรียนรู้การเลี้ยงปลาคาร์ฟที่นิอิกาตะเมื่อนานมาแล้ว และมันก็เป็นคำสอนที่มีประโยชน์จริงๆ
Mr.Susumu Fujita : ฉันคิดว่าครีบตรงทวารก็ควรจะตรวจสอบด้วยนะ
Mr.Futoshi Mano : ถ้าครีบว่ายมี Motoguro Sumiที่ดี ครีบทวารก็จะมี Motoguro Sumiที่ดีด้วย อีกอย่างหนึ่ง เป็นกรณีการเพาะโชว่าของเราบางครั้งเราพบว่า ปลาโชว่าที่มี indigo(สีคราม) colour pigments บนสีแดง จะทำให้ได้ปลาโชว่าที่โตกว่าพวกที่ไม่มี indigo(สีคราม) colour pigments บนสีแดง และปลาโชว่าของ Shibayama-San ที่ได้ แกรนด์แชมเปี้ยนในงาน 38th ZNA All Japan Combined Show พ่อแม่ของมันก็มี indigo(สีคราม) sumi ซึ่งเป็นตัวอย่างที่หายาก
Mr.Futoshi Mano : มันเป็นการผสมผสานอย่างลงตัวของสีแดงและสีดำ
Mr. Joji Konishi : มันเป็นเพราะคุณภาพสีดำที่ยอดเยี่ยม
Mr.Futoshi Mano : Konishi-san ปลาโชว่าของคุณที่ Hiroshima Nogyo-Sai ก็งดงามมาก มันอายุเท่าไหร่แล้วหละ
Mr. Joji Konishi : อายุ 7 ปีในขณะนั้น ปลาโชว่าตัวนั้นก็สืบสายเลือดจาก Dainichi Showa เช่นกัน สิ่งแรกเลยที่จะทำให้ได้ปลาคาร์ฟที่ดีก็คือการหาพ่อแม่ปลาที่ดี พ่อแม่ปลาที่ดีก็อาจจะให้ลูกปลาที่ดี ถึงแม้จะได้แบบบังเอิญก็ตาม อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะผลิตปลาคาร์ฟจำนวนมากมาย แต่ก็อาจจะไม่มีปลาคาร์ฟในอุดมคติเลยสักตัวก็ได้ นั่นแหละคือ Nishikigoi
To be continued krub!!!!!
Sumi talk part2
การดูสีดำเพื่อทราบคุณภาพของปลาซันเก้
Joji konishi : ในระยะหลัง มีปลาโชว่าที่น่าประทับใจหลายตัว สามารถชนะรางวัลในการประกวด แต่ว่ามีตัวอย่างปลาซันเก้น้อยมากที่ผมสามารถนึกขึ้นได้ อืม…ปลาซันเก้ที่ดีที่สุดสำหรับผม คือปลา Sadazo Sanke ที่เราได้มาจากไดนิชิเมื่อหลายปีก่อน ผมจำได้ว่ามันยอดเยี่ยมเพียงใด สีดำของมันเป็นสีดำที่ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา ตอนนั้นFutoshi Mano ยังมีอายุแค่ 5-6 ขวบ (หันไปถาม Mano ) จำมันได้หรือเปล่า น่าเสียดายจริงๆที่ปลาซันเก้ตัวนั้นไม่ได้รับรางวัลใหญ่ในการประกวดเลย
Sadazo Sanke
Futoshi Mano : ผมรู้จักปลาซันเก้ตัวนั้น พ่อของผมเคยเอารูปของมันให้ผมดูหลายปีหลังจากนั้น
Joji konishi : ตอนที่ผมไปเยี่ยมไดนิชิที่ Oogawara สายตาของผมก็จ้องมองไปที่ปลาซันเก้ตัวนั้น แว๊บนึงก็นึกขึ้นมาในหัวว่าผมต้องซื้อมันให้ได้ ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม แต่ในตอนนั้น Toshimitsu Ando, Riko-en ได้จองมันเอาไว้แล้ว และ Minoru Manoก็ปฏิเสธที่จะขายให้ผม ผมไม่ยอมแพ้ จริงๆแล้ว ผมขอร้องและรบเร้าให้พ่อของคุณขายมันให้ผม และตอนนั้นผมก็ไม่ได้รู้จักกับ Toshimitsu Ando มากนัก แต่ตอนนี้เขากลายเป็นเพื่อนที่ดีของผมมากคนหนึ่ง
Toshikatsu konishi : แน่นอนราคาก็งามเลยที่เดียว
Toshikatsu konishi : แน่นอนราคาก็งามเลยที่เดียว
Futoshi Mano : ตอนที่คุณซื้อไปมันอายุเท่าไหร่แล้ว
Joji konishi : มันมีอายุ 4 ปี ด้วยความยาว 60 เซนติเมตร สีดำของมันหนามากราวกับว่ากล้ามเนื้อของมันเป็นสีดำ ราวกับว่าสีดำอมน้ำเงินของมันพรั่งพรูออกมาจากภายในลำตัวของมัน
Futoshi Mano : ผมเข้าใจสีดำแบบนั้น (การพรั่งพรูออกมาคลุมผิวปลา)
Fujita : ความหนาเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณภาพสีดำ
Joji konishi : สีดำเป็นเรื่องสำคัญสำหรับซันเก้ ปลาซันเก้ที่มีลวดลายที่ดูดีจะมีเสน่ห์น้อยลงถ้าปราศจากสีดำที่มีคุณภาพ
Futoshi Mano: แล้วพื้นขาวหละเป็นอย่างไร ใช่ขาวน้ำนมหรือเปล่า
Joji konishi : ใช่ มันเป็นขาวน้ำนม
Futoshi Mano: ผมคิดว่าลักษณะของสีดำอาจมีความเชื่อมโยงกับคุณภาพของผิวปลา และเนื้อผิวของปลา
Joji konishi : ผมก็คิดอย่างนั้น
Futoshi Mano: สีดำที่ดีมักจะปรากฏบนผิวสีขาวน้ำนม
Nichirin : สีดำที่ดีปรากฏบนพื้นขาวและพื้นแดงที่ดีเลิศ มันก็สมเหตุสมผลไม่ใช่หรือ
Joji konishi : ถูกต้อง สีดำและเนื้อผิวมีความสัมพันธ์กัน
Fujita: ในความเป็นจริงของวงการปลาคาร์ฟ มีปลาซันเก้หลายตัวที่มีคุณภาพผิวและคุณภาพแดงที่ดี แต่มีคุณภาพสีดำไม่เป็นที่น่าพอใจ
Joji konishi : น่าเสียดายจริงๆ ปลาซันเก้ส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้น
Fujita: ในงานประกวดใหญ่ๆ คุณก็ยังสามารถเรียนรู้เรื่องนี้ได้
Joji konishi : จากประสบการณ์ของผม ผมพูดได้เลยว่า ปลาไดนิชิซันเก้ของ Sadazo Bloodline มีคุณภาพสีดำที่ดีที่สุด สีดำของพวกมันโดดเด่นมากขณะที่ Matsunosuke Sanke มีรูปร่างที่หนามากและมีสีแดงที่เงางาม นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้บรีดเดอร์หลายๆคนพยายามที่จะผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง Sadazo Bloodline กับ Matsunosuke Sanke เพื่อที่จะผลิตปลาคาร์ฟที่มีจุดเด่นของทั้งสองสายพันธุ์รวมอยู่ในปลาตัวเดียวกัน บรีดเดอร์ที่เพาะปลาซันเก้ทุกคนทำเช่นนั้น แม้แต่ไดนิชิเองก็ตาม
Futoshi Mano: เรามีภาพซันเก้ในอุดมคติ แต่มันยากมากที่จะทำให้ได้ตามนั้นจริงๆ
Nichirin : ความแตกต่างระหว่าง Kaku-zumi (square sumi) และ Maru-zumi (round sumi) ในเชิงของคุณภาพ
Fujita: ผมคิดว่า Kaku-zumi มีความคงตัวมากกว่า เพราะว่ามันมีซาชิที่ลึกกว่าเสมอ
Joji konishi : การแบ่งเป็นกลุ่ม Kaku-zumi และ Maru-zumi ไม่สามารถอธิบายลักษณะของสีดำทั้งหมดได้
Futoshi Mano:Teri (ความเป็นมันเงา) เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าลักษณะรูปร่างของสีดำ สีดำที่ดีจะต้องหนาและเป็นมันเงา
Nichirin : ความมันเงาที่ว่านั้นมาจากตัวสีดำเองเลยหรือเปล่า มันไม่ได้มาจากเมือกของปลาใช่ไหม
Fujita: มันมาจากสีดำโดยตรง ถ้าปราศจากความมันเงาก็จะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็น Urushi-zumi (สีดำแบบแลคเกอร์) Urushi-zumi มีpigmentสีน้ำเงินเข้มจนเป็นสีดำ
Futoshi Mano: การพินิจพิเคราะห์สีดำนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
Fujita: คุณภาพของสีแดงทำให้นักเลี้ยงปลาหลายคนสับสนเวลาเลือกปลาซันเก้
Fujita: เราจะดูสีดำอย่างไรเพื่อตัดสินคุณภาพที่แท้จริงของปลาซันเก้ตัวนั้น
Joji konishi : สีดำเป็นประเด็นที่สำคัญมากในการตัดสินปลาซันเก้ เราจะมองไม่เห็นคุณค่าที่แท้จริงของปลาซันเก้เลย ถ้าเราไม่รู้จักสีดำที่มีคุณภาพจริงๆ ที่น่าเสียดายก็คือ พ่อค้าปลาบางราย หรือแม้แต่นักเลี้ยงปลามืออาชีพบางคน ก็ยังไม่เข้าใจถึงเรื่องดังกล่าว
Unmoving Sumi กับ moving Sumi
Joji konishi : moving Sumi เป็นสีดำที่ไม่ดี moving Sumi หมายถึง จุดสีดำที่เกิดขึ้นมาและก็หายไปในตำแหน่งที่ต่างกัน(หายไปตรงนี้แต่ไปโผล่ตรงโน่น) การขึ้นมาและหายไปของสีดำในตำแหน่งเดิมนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีปัญหาอะไร
Nichirin : ถ้าอย่างนั้น เมื่อไหร่กันหละที่สีดำที่มีคุณภาพจะขึ้นมา
Joji konishi : มันเป็นเรื่องของสภาพของตัวปลามากกว่าเป็นเรื่องของเวลา สีดำที่ฝังอยู่จะค่อยๆขึ้นมากลายเป็นสีดำอย่างนี้ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าสีดำที่เกิดขึ้นมาบนตำแหน่งที่ไม่คาดคิดมาก่อนแบบทันทีทันใด(เหมือนกับรอยเปื้อน) อย่างนี้เป็นตัวอย่างของสีดำที่ไม่ดีในซันเก้
Fujita: ฉันมีความคิดเห็นเช่นนั้นเหมือนกันว่า สีดำที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันมักไม่ค่อยมีคุณภาพ
Joji konishi : สีดำที่ดีจะดูเหมือนว่ามันอยู่ในผิวใต้เกล็ด วางลึกลงไปในผิวและคงที่ อย่างนั้นถึงจะเรียกว่าดี
Nichirin : ส่วนของสีดำที่วางลงไปในผิวและทำให้เกิดซาชิที่ดี ซาชิแสดงถึงความหนาของสีดำใช่หรือไม่
Joji konishi : ถูกต้อง แม้แต่สีดำที่ดีก็ขึ้นมาและหายไปได้ ขึ้นอยู่กับสุขภาพของปลาและคุณภาพน้ำ สีดำที่ดียังคงเหลือร่องรอยเป็นเงาสีดำทิ้งเอาไว้ แต่ว่าสีดำที่ไม่ดีเมื่อหายไปจะไม่ทิ้งร่องรอยอะไรเอาไว้เลย ที่กล่าวมาแล้วนั้นรวมถึงสีดำที่ขึ้นบนสีแดงด้วย
Futoshi Mano: สีดำที่บางเป็นสีดำที่ไม่มีคุณภาพ
Nichirin : อะไรทำให้เกิดความแตกต่างระหว่าง Unmoving Sumi กับ moving Sumi
Fujita: กล่าวโดยคร่าวๆก็คือความหนาของมันต่างกัน
Joji konishi : ผมคิดว่าลักษณะของสีดำมาจากสายเลือดของมัน ยกตัวอย่างเช่น สีดำของ Sadazo Bloodline จะไม่ย้ายไปไหน แม้ว่าสีดำของ Sadazo จะไม่ใช่สีดำที่มีคุณภาพสูงที่สุดทุกครั้งไปก็ตาม นี่คือความคิดของผมต่อสีดำ ผมคิดว่าสีดำที่มีคุณภาพที่แท้จริงจะไม่ย้ายไปไหนง่ายๆ อย่างไรก็ตาม บรีดเดอร์บางคนอาจมีความคิดที่ต่างกัน บางคนอาจจะชอบให้สีดำทยอยขึ้นมาแบบ 0ne by one
Nichirin : สีดำที่หนาคือสีดำที่มีคุณภาพ เป็นไปได้หรือไม่ที่สีดำที่ไม่ดีแต่ก็หนาได้
Fujita: ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสีดำที่มีคุณภาพต้องหนา แต่สีดำแบบน้ำตาลขุ่นก็หนาได้ พูดอย่างตรงไปตรงมาเลย ผมเคยเห็นปลาซันเก้ที่มีขนาดจัมโบ้ที่ได้รับรางวัลมีสีดำแบบน้ำตาลขุ่น ผมได้เห็นปลาซันเก้หลายตัวมาตลอดเกือบ50 ปีนี้ และผมสามารถพูดได้ว่าสีดำของปลาซันเก้นั้นไม่ได้พัฒนาขึ้นเลย
Joji konishi : สถานการณ์ของซันเก้ในปัจจุบันถูกดึงไปอยู่ในกระแสของการผลิต ดังนั้น เรื่องคุณภาพสีดำถูกมองข้ามและไปเน้นที่การทำให้ปลาซันเก้มีขนาดใหญ่ขึ้น เห็นกันชัดๆอยู่แล้วว่าปลาโคฮากุส่วนมากมีรูปร่างที่ดีกว่าปลาซันเก้อย่างชัดเจน
Futoshi Mano: บรีดเดอร์ทั้งหลายมีภาพปลาในอุดมคติของตนเองอยู่แล้วสำหรับการผลิตปลาคาร์ฟ แต่เรื่องการทำปลาให้มีขนาดจัมโบ้ก็เป็นหนึ่งในกระแสนิยมเช่นกัน
Joji konishi : อืม… ผมนึกถึงตัวอย่างของปลาซันเก้ที่มีขนาดใหญ่และมีสีดำที่ดีด้วยได้ตัวหนึ่ง ซึ่งผลิตโดยRiko-en และ มีShinji Matsumoto เป็นเจ้าของ มันชนะรางวัล Superior Champion งาน ZNA all Japan show 2 ปีติดต่อกัน มันเป็นเรื่องประมาณ 7-8 ปีที่แล้ว
Futoshi Mano: ในงานZNA show ที่ Fukuoka ,Niitata ผมนึกขึ้นมาได้อีกตัวหนึ่งเหมือนกัน มันเป็นปลาซันเก้ของซาไก ซึ่งมันได้รางวัลแกรนด์แชมเปี้ยน งาน AJNEA ครั้งที่ 32 มันมีสีดำแบบ unmoving Sumi เห็นด้วยหรือไม่ครับ
Joji konishi : แน่นอน มันเป็นปลาของ Tanaka ผมจำมันได้ มันเป็นปลาที่วิเศษจริงๆ
Nichirin : มาตกลงกันให้ชัดเจนก่อนถึงความหมายของ Tsubo-zumi นะครับ Tsubo-zumi คือ ตำแหน่งสีดำบนพื้นสีขาวหรือว่าตำแหน่งสีดำบนพื้นสีแดง
Joji konishi : ตำแหน่งของสีดำบนสีขาว
Sujita : บางคนใช้คำว่า Tsubo-zumi กับตำแหน่งสีดำบนสีแดงด้วย ซึ่งถือว่าผิด (อาจเนื่องมาจากคำว่า Tsubo หมายถึง ตำแหน่งสำคัญ)
Futoshi Mano: Tsubo-zumi คือสีดำบนพื้นสีขาวเท่านั้น ส่วนสีดำบนพื้นสีแดงเราเรียกว่า Kasane-zumi
Nichirin : แล้ว Urushi-zumi หละ ผู้เลี้ยงปลามักจะใช้คำว่า Urushi-zumi สำหรับสีดำที่มีคุณภาพ
Joji konishi : ที่ฟาร์มของเรา คำว่า Urushi-zumi แถบไม่ได้ใช้เลย
Futoshi Mano: เรามักจะใช้คำว่า Good sumi เวลาพูดคุยกัน ซึ่งมันง่ายกว่า
Nichirin : ถ้าอย่างนั้นคำว่า Ao-sumi (Bluish sumi) หละ คำนี้Ao-sumi เป็น sumi ที่ดีใช่หรือไม่
Fujita : แน่นอน
Joji konishi : Ao-sumi ใช้สำหรับเรียกสีดำบนพื้นสีขาว สีดำบนพื้นสีแดงไม่เคยใช้คำว่า Ao-sumi หรือคำว่า Urushi-zumiเลย คุณรู้ไหมว่าสีดำบนพื้นสีแดงจะดูหลอกตา สีดำที่เป็นมันเงาบนพื้นสีขาว คือ Urushi-zumi คุณจะมองคุณภาพสีดำที่แท้จริงไม่ออกเลยถ้าไม่ได้ดูสีดำบนพื้นสีขาว อย่าดูสีดำบนพื้นสีแดง
Futoshi Mano: นี่อาจทำให้มันยากขึ้นไปอีก เราอาจพูดได้ว่าตำแหน่งสีดำส่วนใหญ่มักจะวางอยู่บนสีแดง
Joji konishi : นั่นแหละตรงประเด็นเลย เมื่อตอนที่ผมแนะนำลูกค้าให้ดูที่Kiwaของสีดำบนพื้นสีขาวเวลาเลือกปลาซันเก้ที่ดี พวกเขามักบ่นว่า “ไม่เห็นมีสีดำบนสีขาวเลย”
Toshikatsu konishi : อีกอย่างในเวลาคัดตัวอ่อนลูกปลาซันเก้ เมื่อก่อนจุดสำคัญในการเลือกคือ แถบสีดำบนครีบว่าย ซึ่งเรื่องนี้ดูเหมือนว่าได้ถูกเปลี่ยนไปแล้ว
Joji konishi : ในปัจจุบัน แถบสีดำหนึ่งหรือสองเส้นเป็นเรื่องที่ยอมรับกัน และเกณฑ์ในปัจจุบันนี้จะเลือกการไม่มีแถบสีดำเลยยังดีกว่ามีแถบสีดำมากๆ
Nichirin : มันมีปลาประเภทปลาซันเก้ที่ดูเหมือนโชว่า กับ ปลาโชว่าที่ดูเหมือนซันเก้ จากการผสมข้ามสายพันธุ์กัน ถ้างั้นสีดำของซันเก้แตกต่างจากสีดำของโชว่าจริงๆหรือไม่
Fujita: สีดำก็คือสีดำ ตัวอย่างเช่น ปลาซันเก้มีสีดำที่หนักแน่นของ Mr.Genji Sogawa จำได้ไหม
Future of Sanke
Nichirin : อย่างที่เราเห็นตามงานประกวดว่าปลาโชว่ามีการพัฒนาอย่างมาก แล้วทำไมปลาซันเก้ถึงยังย่ำอยู่กับที่ละ
Joji konishi : ในการคัดลูกปลาช่วงแรกๆนั้นปลาโชว่านั้นคัดง่ายมาก หรือพูดอีกอย่างก็คือคุณก็สามารถเลือกตัวอ่อนลูกปลาสีดำได้ทำให้ไม่ต้องเปลืองพื้นที่ในบ่ออนุบาลลูกปลา อีกทั้งโชว่ามีลวดลายที่หลากหลาย ทำให้ที่ฟาร์มของเรา สายการผลิตปลาโชว่าใหญ่กว่าปลาซันเก้
Nichirin :ในแง่ของการตลาดและสายการผลิตนั้นปลาโชว่าดีกว่าปลาซันเก้ แล้วที่ไดนิชิละเป็นแบบเดียวกันไหม
Futoshi Mano : เหมือนกันครับ ผมไม่คิดว่าปลาโชว่าจะทำง่ายกว่าปลาซันเก้นะ แต่จริงๆแล้วเป็นเพราะเรามีพ่อแม่ปลาโชว่าที่น่าสนใจอยู่หลายคู่ก็เท่านั้นเอง ถ้าเรามีพ่อแม่ปลาซันเก้ที่ดีเราก็จะผลิตปลาซันเก้เพิ่มขึ้น แต่โดยส่วนตัวแล้วผมเป็นคนชอบโชว่าครับ
Joji konishi : พ่อแม่ปลาซันเก้ที่ดีนั้นหายาก
Futoshi Mano : .ใช่ครับ
Joji konishi : มักได้ยินเสมอว่า “การเพาะซันเก้เป็นธุรกิจที่ขาดทุน”
Joji konishi : คุณรู้อยู่แล้วว่าปลา Matsunosuke sanke มักจะโตเป็นปลาจัมโบ้บ่อยๆ เราเคยมีอยู่หนึ่งตัวเป็นลูกของปลา Matsunosuke ที่ได้ Grand champion งาน Nogyo-sai ซึ่งมีคุณภาพดำที่สูงมาก แต่ก็แปลกมากที่ปลาตัวนั้นไม่ยักกับกลายเป็นปลาจัมโบ้
Nichirin : คุณกำลังจะบอกว่าปลาซันเก้ที่มีคุณภาพจะเป็นจัมโบ้ได้ยากใช่ไหมครับ
Toshikatsu konishi : ส่วนมากพ่อแม่ปลาซันเก้ของเราในปัจจุบันเป็นลูกของ Matsunosuke sanke
Fujita : ซันเก้เป็นเรื่องยาก
Joji konishi : พ่อแม่ปลาซันเก้ที่ดีและเหมาะกันก็ให้ผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จน้อย ส่วนใหญ่ที่ได้ออกมาจะขายไม่ได้
Futoshi Mano : ประสบความสำเร็จยาก
Nichirin : ความยากของการเพาะซันเก้ คือ ลูกที่เกิดออกมาจะมีสีดำที่มากเกินไป
Futoshi Mano : มันไม่ง่ายเลย ส่วนใหญ่ลูกปลาจะไม่มี pattern พื้นฐานของปลาซันเก้ ลูกปลามักดูเหมือน Bekko หรือ Aka Bekko มากกว่า
Joji konishi : พวกมันไม่สร้างลวดลายของปลาคราฟเลย เป็นสายการผลิตที่น่าสงสาร
Futoshi Mano : ที่เลวร้ายที่สุดเคยมี คือ มีปลาเหลือแค่ 30 ตัว(จากการคัดครั้งแรก)
Joji konishi : มันเป็นเรื่องยากที่จะผลิตปลาชั้นเลิศ มันเหมือนเป็นความหลงไหลในความยากของมัน และวัฒนธรรมปลาคราฟไม่มีวันจางหายไป ความเป็นไปไม่ได้นี่แหละที่มนุษย์เราถวิลหา Koi is the same.
************************************************************* จบ ****************************************************************
************************************************************* จบ ****************************************************************
No comments:
Post a Comment