The legend of Momotaro : the beginning of a new keito ( Part 1 )
"Seio"
ตั้งแต่อดีตเรื่องของ bloodline นั้นถูกให้ความสำคัญอย่างมากและมีความพยายามที่จะพัฒนามันให้ดีขึ้นไปอีก เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับ bloodline ดูเหมือนจะกลายเป็นตำนานและบรีดเดอร์เองก็พยายามจะสร้าง bloodline ใหม่ขึ้นมา ความพยายามนี้อาจกลายเป็นตำนานของพวกเขาเองจริงๆ ด้วยเหตุนี้เราอยากเปิดม่านตำนานของฟาร์มโมโมทาโร่ให้ได้ทราบกันครับ
ภาพปลารางวัล Kokugyo awards ทั้ง 3 ตัว
คำถาม – งาน All Japan combined show ที่โตเกียวปีนี้ รางวัล Kokugyo awards 3รางวัลถูกตัดสินให้กับปลา 3 ตัวที่เกิดจากพ่อแม่ปลาตัวเดียวกันในปีเดียวกันด้วย(ปลาครอกเดียวกัน) นี่เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในงานประกวด ผมเข้าใจว่าปลาในภาพ A ซึ่งเป็นแม่ปลาของปลาทั้ง 3 ตัวนั้นเกิดจากการผสมระหว่างปลา Matsunosuke sanke กับปลา Sensuke kokaku ใช่หรือไม่ครับคำถาม – แม่ของปลาAเป็นซันเก้ หรือ โคฮากุครับ
Maeda – แม่ปลาเป็น Matsunosuke sanke (รูปΩ)
Maeda – ประมาณ 94 เซ็นต์ และลูกของมันเป็นแม่พันธุ์ปลาสายโคฮากุของเรา(รูป A) ส่วนในภาพ B เป็นน้องสาวมันชื่อ”Momoko”
"Momoko"
คำถาม – Momoko คือปลาซันเก้ที่ได้ Mature champion งาน Nagoya show ปี1997( 33rd ZNA All Japan show)ใช่ไหม และการผสมกันระหว่าง Matsunosuke กับ Sensuke เป็นเหมือนการผสมไขว้กันระหว่างปลา 2 ชนิดใช่ไหมครับMaeda – ใช่ครับ
คำถาม – อะไรเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่คุณมีไว้ในใจสำหรับการผสมไขว้กันระหว่างปลา 2 ชนิดนี้
Maeda – ผมชอบสีแดงของปลา Matsunosuke sanke จริงๆแต่ว่ารูปร่างมันดูไม่หนาดังนั้นผมจึงอยากจะขยายขนาดของรูปร่างมันเพื่อให้ได้อะไรที่ทั้งแดงสวยงามและรูปร่างที่ดี ผมจึงเลือก Sensuke มาผสมเข้าไป
คำถาม – คุณพยายามจะเพาะซันเก้หรือครับ
Maeda – ก็ไม่เชิงครับ ผมรู้ว่าลูกปลาที่เกิดมาจะมีทั้ง 2 สายพันธุ์ จากนั้นเมื่อผมได้ปลาโคฮากุที่มีรูปร่างที่ดีเกิดออกมา ผมจึงนำมันไปผสมกับปลาโคฮากุต่ออีกที และกับลูกปลาซันเก้ที่เกิดขึ้นมาผมก็ใช้วิธีเดียวกันครับ มันเหมือนการเหยียบเรือสองแคม
คำถาม – ครั้งแรกที่คุณผสมไขว้กันระหว่างปลา 2 ชนิดนั้น ปลาชนิดไหนที่มีอัตราส่วนออกมามากที่สุด โคฮากุหรือซันเก้ครับ
Maeda – ซันเก้มากกว่า ผมเก็บแค่ลูกปลาที่มีคุณภาพแต่ผมคิดว่ามีซันเก้ประมาณ 90%
คำถาม – แล้วมีปลาโคฮากุกับซันเก้กี่ตัวที่คุณเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ปลารุ่นแรกครับ
Maeda – โคฮากุ 5 และซันเก้ 10
คำถาม – เป็นตัวเมียทั้งหมดเลยไหมครับ
Maeda – ใช่ครับเป็นตัวเมียทั้งหมด ผมไม่ได้เก็บปลาตัวผู้เอาไว้เลยแม้แต่ตัวเดียว
คำถาม – ผมพูดอย่างนี้ได้ไหมครับว่านอกจากปลาที่ถูกเก็บเป็นพ่อแม่พันธุ์คุณได้ขายลูกปลาตัวอื่นๆไปด้วยเช่นกัน
Maeda – ถูกต้องครับ “Momoko”(รูป B) ชนะรางวัล Mature champion งาน Nagoya show ปี1997ตอนขนาด 75เซ็นต์เมื่ออายุ 4ปี และ “Barbarus” (รูป C) โตได้ 90เซ็นต์ขณะที่เป็น gosai เท่านั้นเอง…..แต่น่าเสียดายที่มันตายในบ่อดิน
"Barbarus"
คำถาม – Barbarus ก็เป็นพี่น้องกันกับ MomokoหรือMaeda – ใช่ครับเป็นพี่น้องกับทั้ง Momoko และ โคฮากุที่ลูกของมัน3ตัวได้รางวัล Kokugyo awards 3รางวัล
คำถาม – คุณไม่ได้คิดไว้แต่แรกใช่ไหมตอนที่คุณผสมไขว้กันระหว่างปลา 2 ชนิดนี้
Maeda – ไม่เลย ผมเน้นไปที่การผลิตปลา Matsunosukeที่มีรูปร่างดีมากกว่าการผลิตปลาโคฮากุ อย่างไรก็ตามเมื่อเราได้ปลาโคฮากุที่ดีเกิดขึ้นมาเราก็ตัดสินใจพัฒนามันต่อด้วยเช่นกัน
คำถาม – คุณใช้เวลากี่ปีในการเพาะกับพ่อแม่ปลาชุดดั่งเดิม
Maeda – อีก 3 ครั้งหลังจากนั้น และเราก็ได้ลูกปลาที่ดีๆจากการเพาะครั้งหลังๆด้วยเช่นกันแตว่าเราขายพวกมันออกไปหมดเลยตั้งแต่ตอนเป็นโตไซ ดังนั้นผมจึงไม่รู้ถึงผลลัพธ์ในระยะยาวของการเพาะครั้งหลังๆนั้น
คำถาม – ผมแน่ใจว่าบรีดเดอร์พยายามใช้โคฮากุผสมเข้าไปเพื่อลด Osumi (สีดำขนาดใหญ่) ลงเป็น Kosumi (สีดำขนาดเล็ก)
Maeda – นั่นเป็นเรื่องจริง แต่ส่วนมากมักไม่มีปลาที่โดดเด่นเกิดขึ้นมาจากการเพาะนั้นๆ
คำถาม – ยังมีปลาชั้นยอดอื่นๆอีกไหมที่เกิดในครอกเดียวกับปลา3ตัวที่ได้รางวัล Kokugyo
Maeda – มีโคฮากุ 2 ตัว ที่ Mr.Hayakawa ส่งประกวดงาน All Kanto Region show(31st Shinkokai All Kanto show ) เดือนธันวาคมและชนะรางวัล Champion ขนาด 80เซ็นต์(รูป 4) และ อีกตัวได้ Best in variety (รูป 5)
คำถาม – ปลาโคฮากุทั้ง 5 ตัวเพาะในปีเดียวกันหรือครับ
Maeda – ใช่ครับ ผมยินดีมากที่ปลาดีๆถูกคนแบบ Mr.Hayakawa และ Mr.kaneko ซื้อไป เพราะว่าเราขายปลาให้คนที่ไม่มีทักษะในการเลี้ยงปลาเราจะไม่มีโอกาสรู้เลยว่าปลาตัวนั้นสามารถพัฒนาไปได้ไกลแค่ไหน
คำถาม – ปลาทั้ง 5 ตัวเกิดจากปลาในรูป A และปลาในรูป Σ
คำถาม – ไม่มีปลาซันเก้ออกมาเลยหรือครับตอนที่คุณผสม Takeda โคฮากุ(รูป Σ)กับแม่ปลา(รูป A)
Maeda – ไม่มีเลยแม้แต่ตัวเดียว
คำถาม – ผมว่าดูจากปลา Barbarus (รูป C พี่น้องกับปลาA) ซึ่งมีสีดำที่เยอธมาก ต่อให้มีปลาซันเก้ในการผสม Takeda โคฮากุ(รูป Σ)กับแม่ปลา(รูป A)ก็ไม่น่าแปลกใจนะครับ
Maeda – นั่นก็ใช่ครับ ต่อไปผมจะใช้ปลาพ่อพันธุ์ของ Mr.kaneko ตัวที่ได้รางวัล 75 bu kokugyo(รูป 3)กับแม่ปลาโคฮากุที่มาจากแม่ปลา “Mako”(รูป I แม่ปลา Matsunosuke sankeที่มีเลือด Magoi)ที่มีขนาด 75 เซ็นต์ด้วยอายุ 3 ปี และยังมีแม่ปลาสาวๆอีก 2-3ตัวที่มีรูปร่างและสีแดงที่น่าสนใจ ผมต้องการใช้พ่อพันธุ์ของ Mr.kanekoกับปลาเหล่านี้เพื่อผลิตปลาโคฮากุสานเลือดใหม่
Maeda – ใช่ครับมันต่างกัน ผมเริ่มกลับมาที่โคฮากุอีกครั้งเมื่อปีที่แล้วและวางแผนที่จะผลิตปลาโคฮากุมากขึ้นในปีนี้ ผมยังคิดได้ในอีกหลายๆเรื่อง(หัวเราะ)
คำถาม - เจ้า Seio(รูปที่ 1)เป็นปลาจัมโบ้โตไซใช่ไหมครับ
คำถาม – การที่คุณใช้พ่อปลา Takeda (รูป Σ)นั้นคุณตั้งใจทำให้มันมีรูปร่างที่ดีขึ้นใช่ไหมครับ
คำถาม – คุณเจอปลาตัวนี้ที่ฟาร์ม Takeda เลยหรือเปล่า
Maeda – ไม่ครับ Mr. Takeda ขายปลาตัวนี้ให้ลูกค้าไปและถูกขายต่อเป็นทอดๆกันไปและช่วงหนึ่งก็ได้ถูกมาฝากเลี้ยงที่ผม ปลาตัวนี้โตเร็วมากทำให้ผมอยากนำมันมาผสมกับปลาผม ผมจึงไปคุณกับ Mr. Takeda เกี่ยวกับเรื่องนี้และในที่สุดผมก็สามารถนำมันมาเป็นพ่อพันธุ์ได้
คำถาม – คุณมีโอกาสเลี้ยงมันทำให้คุณทราบว่ามันอัตราการโตมากแค่ไหน ถูกต้องไหมครับ
Maeda – ถูกต้องครับ ปลาเช่นเจ้า Seio(รูปที่1) และพวกพี่น้องของมันมีเลือดของปลาตัวนี้(พ่อปลา Takeda ในรูป Σ) ผมถึงอยากจะนำพวกมันมาเพาะด้วยเช่นกันครับ แต่เมื่อเร็วๆนี้ Mr.Takeda ขาดพ่อปลาโคฮากุผมเลยส่งมันกลับไปให้เขา
คำถาม – คงไม่น่าจะมีปัญหาแล้วมั้งครับสำหรับการส่งมัน(พ่อปลา Takeda ในรูป Σ)คืนไปเพราะว่ายีนส์ของมันได้ส่งผ่านไปในปลาของคุณเรียบร้อยแล้วสินะครับ
Maeda – ใช่ครับ ผมพยายามเก็บปลาที่ดีทั้งเพศผู้และเพศเมียที่ได้จากการเพาะปลา(พ่อปลา Takeda ในรูป Σ)เอาไว้ โดยเฉพาะปลาตัวผู้ครับ
คำถาม – เพราะว่าคุณไม่ได้เก็บปลาตัวผู้ไว้เลยในการผสมปลาชุดแรกระว่างปลา Matsunosuke sanke กับปลา Sensuke kokaku ดังนั้นครั้งนี้คุณจึงเก็บปลาดีๆไว้ทำพ่อแม่พันธุ์ไว้จำนวนหนึ่งเลยใช่ไหมครับ
Maeda –ใช่ครับ ตอนนี้ผมมีปลาที่จะเป็นพ่อแม่พันธุ์ในอนาคตเยอะพอควรเลยทีเดียวครับ
คำถาม –ฟังจากที่คุณพูดหมายความว่าคุณจะไม่ใช้แม่ของเจ้า Seio(ปลา A)มาเพาะอีกแล้ว
Maeda - ผมลองผสมมัน(ปลา A)กับพ่อปลาหลายตัวเมื่อปีที่แล้ว แต่ว่าผมขายลูกปลาออกไปตอนเป็นโตไซทำให้ผมไม่ทราบว่าลูกๆของมันโตมาเป็นอย่างไรบ้าง
คำถาม – คุณใช้พ่อปลาสายไหนครับ
Maeda – ผมใช้พ่อปลาที่มาจากสาย “Eagle” (รูป II)
Maeda – อืม…ผมส่งพ่อปลา Takeda ในรูป Σ ไปแล้วแต่แม่ปลา A ยังแข็งแรงอยู่ และในงาน All Japan ปีนี้ผมได้คุยกับ Mr.Takeda ซึ่งเขาถามถึงแม่ปลา A ว่าเป็นอย่างไรบ้างและเมื่อเขาทราบว่ามันยังสมบูรณ์แข็งแรงดีเขาก็มาดูตัวมันที่ฟาร์ม สุดท้ายเราตกลงกันว่าจะร่วมมือกันเพาะมันทั้งคู่อีกครั้งที่ฟาร์มของ Mr.Takeda
คำถาม – นี่เป็นการกลับมาจับคู่กันอีกครั้งของคู่พ่อแม่ที่ประสบความสำเร็จ(ลูกปลาชนะรางวัลใหญ่ถึง 6 ตัว)
Maeda – ใช่ครับ เป็นความร่วมมือกันระหว่างเรา2ฟาร์ม ซึ่ง Mr.Takedaไม่ได้ต้องการลูกปลาจำนวนมากนักผมจึงตกลงจะให้เขาเลือกปลาก่อนแล้วส่วนที่เหลือค่อยเป็นของผม
คำถาม – เลือกช่วงที่อนุบาลลูกปลาซินะครับ
Maeda – ใช่ครับ หลังจากที่ฟักเป็นตัวและว่ายน้ำเป็นอิสระแล้ว
คำถาม – แล้วคุณใช้พ่อแม่ปลาชุดนี้ (Σ + A )เพาะปลาอยู่กี่ปีครับ
Maeda – 2 ปีครับ…. แต่หลังจากส่งปลา Σ กลับไปแล้วผมก็ลองผสมปลา A กับปลาตัวอื่นๆครับ และได้ยินว่าหลังจากเจ้า Σ กลับไปที่ฟาร์มของ Mr.Takeda เขาได้ผสมมันกับแม่ปลาชื่อ “Makiko” ซึ่งผมมันใจว่าเขาได้ปลาดีจากการเพาะครั้งนั้นครับ
คำถาม – คุณส่งปลา Σ กลับไปเพราะว่าคุณสามารถผลิตปลาดีๆจากปลาที่ฟาร์มคุณได้เองอยู่แล้ว
Maeda – ใช่ครับ ปลา Σ มีลวดลายแบบ Tsuki-tsuke แต่ว่ามีรูปร่างที่ยอดเยี่ยมมาก และตอนนี้มันก็เป็นเวลา 2 ปีแล้วที่มันกลับไปอยู่ที่ฟาร์มของ Mr.Takeda ซึ่งผมไม่รู้เลยว่ามันเป็นอย่างไรบ้างเนื่องจากไม่ได้เห็นมันเลยแต่ผมได้ยินว่ามันยังมีสภาพที่ดีอยู่ อย่างไรก็ตาม Mr.Takeda ไม่ได้ให้อาหารในโรงเลี้ยงมากนักผมจึงคิดว่ามันไม่น่าจะหนาถึงแม้ว่าจะโตเร็วก็ตาม มันน่าจะดูออกยาวๆมากกว่า(ข้อมูลเพิ่มเติม-รูป Σ ถ่ายหลังจากวันสัมภาษณ์ครั้งนี้ตอนขากลับที่ผ่านฟาร์มของ Mr.Takeda และมันถูกเลี้ยงอยู่ในโรงเลี้ยงโดยไม่เคยลงบ่อดิน วันนั้นเราวัดขนาดได้ 80เซ็นต์ และ Mr.Maeda ถึงกับตะลึงไปเลยกับข่าวนี้)
คำถาม –ได้ยินว่าแม่น้ำที่อยู่ติดกับฟาร์มเอ่อล้นและน้ำท่วมฟาร์มคุณหลังจากที่พึ่งอวนปลาโตไซเหล่านี้เสร็จ(ปลาโตไซรุ่นเดียวกับเจ้า 6 ตัวที่ได้รางวัลใหญ่)
Maeda –ใช่ครับ เราประสบผลสำเร็จในการเพาะแต่ว่า2ใน3ของปลาโตไซได้หายไปกับน้ำท่วมครั้งนั้น
คำถาม – พวกนี้คือที่เหลือรอดมาเป็นแค่บางส่วนของการเพาะเท่านั้นเองหรือครับ
Maeda – (หัวเราะ) น่ามหัศจรรย์ใช่ไหมละ
คำถาม – ลองจินตนาการดูสิครับว่าถ้าพวกมันอยู่กันครบทั้งหมด
Maeda – ถ้าไม่หายไปเลย…ผมคงสามารถมีบ้านหลังที่2ในหลายๆประเทศรอบโลกและมีชีวิตที่แสนสบาย(หัวเราะ) (ความเห็นผู้แปล-สงสัยว่า6ตัวที่เห็นในรูปคงแพงหูดับเลย แหะๆ)
คำถาม –(หัวเราะด้วย) น้ำท่วมเดือนไหนเหรอครับ
Maeda -ตุลาคม
คำถาม –ใช่ตอนที่พึ่งอวนปลาเสร็จหรือไม่ครับ
Maeda –ใช่ครับ เราพึ่งอวนปลาขึ้นจากบ่อดินและกำลังเลี้ยงในโรงเลี้ยงที่ควบคุมอุณหภูมิน้ำ(ก่อนเข้าฤดูหนาว)….ทุกอย่างอยู่ใต้น้ำหมดมันเหมือนกับฝันร้าย
คำถาม – มีปลาโตไซโคฮากุที่ดีกี่ตัวจากการเพาะที่คุณอวนขึ้นมาได้ครับ
Maeda – มีเยอะครับ ผมว่ามีโคฮากุระดับไฮ-คลาสประมาณ 500 ตัวได้ที่เหลือหลังจากการคัดปลาครั้งสุดท้าย มันเป็นการเพาะที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงมาก
คำถาม – แสดงว่าพ่อและแม่ปลาเหมาะสมกันดีมาก
Maeda - แน่นอนครับ ผมเหมือนถูกแจ๊คพ๊อตเลยทีเดียว(หัวเราะ)
คำถาม – คุณเริ่มด้วยการผสมระหว่างปลา Matsunosuke sanke กับปลา Sensuke kokaku และนำลูกปลาที่ได้มาผสมกับ พ่อปลาของ Takeda และปลาของ Takeda เองก็มีสายเลือด Sensuke ด้วยถูกไหมครับ
Maeda – ถูกต้องครับ มันมีส่วนของปลา Sensuke อยู่นิดหน่อยครับ
***************************************************************
No comments:
Post a Comment