The legend of Momotaro : the beginning of a new keito ( Part 3 )

The legend of Momotaro : the beginning of a new keito ( Part 3 )

คำถาม –คุณผสมพ่อปลา Takeda ในรูป Σกับแม่พันธุ์ปลาสายโคฮากุของเราในรูป A ถึง2ครั้ง ถ้าอย่างนั้นมีปลาที่เกิดในการผสมครั้งที่2(อายุอ่อนกว่าปลาที่ได้รางวัลทั้ง5-6ตัวนี้อยู่ 1 ปี)อยู่หรือไม่

Maeda –ไม่มีครับ เราไม่มีปลา 4 ปีที่เกิดจากการเพาะครั้งที่2เลยครับ เราขายมันออกไปหมดเลยตั้งแต่ตอนเป็นโตไซครับ มันมีปลาที่โดดเด่นในกลุ่มนั้นอยู่หลายตัว และจริงๆแล้วยังมีปลา5ปี(เกิดจากการเพาะครั้งที่1)ที่ยังไม่มาปรากฎตัวในงานประกวด ซึ่งผมมั่นใจว่าพวกมันยังอยู่ข้างนอกนั้นที่ไหนซักแห่งและรอคอยที่จะมาปรากฎตัวในงานประกวด รอคอยการตั้งชื่อเล่น และรอ….(หัวเราะ)

คำถาม –ปลาที่คุณขายออกไปนั้นตอนนี้พวกมันต้องเป็นปลา4ปีแล้ว บางทีพวกมันอาจจะออกมาเผยโฉมหน้าในงานประกวดทีไหนซักแห่งแล้วก็เป็นได้

Maeda –ครับ เราขายปลาโตไซเป็นหลักอยู่ระยะหนึ่ง ถึงแม้ว่าเราเก็บปลาส่วนหนึ่งไว้เป็นพ่อแม่ปลาแต่ปลาที่ลวดลายดีๆเราได้ขายไปหมดแล้ว ส่วนพวกที่ลวดลายไม่ดีแต่มีคุณภาพดีเราจะเก็บมาเป็นพ่อแม่พันธุ์(เพราะว่ายังไงก็ขายไม่ออกแน่ๆอยู่แล้ว)

คำถาม –ไม่ใช่แค่ปลาลวดลายสวยๆเท่านั้นคุณยังขายปลาtategoi ด้วย

Maeda –ใช่ครับ เราขายปลา tategoi ด้วยเช่นกัน ปัญหาเดียวที่เหลือหลังจากที่เราขายมันไป คือ ผู้ซื้อเลี้ยงปลาตัวนั้นๆอย่างไร เพราะถ้ามีผู้เลี้ยงแบบ Mr.Kaneko และ Mr.Hayakawa ซึ่งมีทักษะการเลี้ยงที่ดีและมีบ่อที่ดี ในวงการมากกว่านี้แล้วละก็จะมีปลาดีๆให้เราเห็นอีกมากมายแน่นอน

คำถามคุณภาพที่ปลาตัวนั้นๆมีอยู่จะเปล่งประกายออกมาได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับทักษะการเลี้ยงดูหลังจากนั้นถูกไหมครับ

Maeda –ถูกต้องครับ ทักษะการเลี้ยงดูที่ไม่ดีจะทำลายแม้แต่ปลาที่ดีที่สุดครับ เราขายปลาส่วนมากตั้งแต่เป็นปลาโตไซดังนั้นผมได้แต่หวังว่าดีลเลอร์จะขายมันให้กับผู้เลี้ยงที่ดีครับ(หัวเราะ)

คำถาม –ผมมั่นใจว่าคุณต้องมีความสุขแน่ๆเมื่อเจ้า Seio กลับมาหาคุณในฐานะแม่พันธุ์ปลา

Maeda –แน่นอนครับ Mr.Hayakawa ก็บอกผมว่าเขาให้เอาปลาที่เขาซื้อไปมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้เช่นกันครับ และด้วยเหตุนี้จะทำให้คุณรู้สึกสบายขึ้นเวลาจะปล่อยปลาที่ดีๆออกไปโดยไม่ต้องคิดอะไรมากนักถึงราคาของมัน และ Mr.Kanekoเองก็ถามผมถ้าผมต้องการผสมเจ้า Seio ปีนี้หรือเปล่า แต่เนื่องจากมันยังมีโอกาสประสบความสำเร็จอีกในปีหน้าผมเลยกลัวว่ามันจะเสียหายทำให้ผมตอบไปว่าเรายังไม่ทำปีนี้ครับ

คำถาม –การพูดคุยกับ Mr.Kaneko ที่งานประกวด เขาบอกว่าจะเลี้ยงเจ้า Seio ในบ่อเขาเองต่ออีก 1 ปี คุณคิดว่ามันจะโตอีก 10เซ็นต์หรือไม่ครับ ผมจินตนาการถึงปลา1เมตรกับอายุ6ปีไม่ค่อยจะออกครับ(หัวเราะ)

Maeda –(หัวเราะ)ผมบอกให้ Mr.Kaneko อย่าเลี้ยงให้ใหญ่มากกว่านี้นัก แค่ 2-3เซ็นต์น่าจะดีที่สุด

คำถาม –คุณคิดว่าทั้งปลาโคฮากุและซันเก้ที่ทำเป็นไปตามที่วางแผนไว้ไหมครับ

Maeda –ครับ ทั้ง2สายพันธุ์พัฒนาขึ้นมาได้ดีทั้งลวดลายและรูปร่าง คุณภาพพวกมันยังสามารถพัฒนาได้อีกและกำลังทำอยู่ในขณะนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้1เมตรแต่ได้แค่ 85-90เซ็นต์ผมก็ถือว่าโอเคแล้ว (ความประทับใจของปลา1เมตรในงานประกวดนั้นแตกต่างกันมากๆ)

คำถาม –เมื่อเทียบกันใช่ไหมครับ

Maeda –(หัวเราะ) ตามที่คุณคิดแหละครับ ปลาที่ใหญ่กว่าได้เปรียบครับ

คำถาม –แล้วปลาโชว่าละครับ

Maeda –ผมเองพยายามทำโชว่าสายเลือดใหม่ ผมผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างซันเก้กับโชว่าครั้งหนึ่งและตอนคัดปลารอบแรกผมตื่นเต้นมากๆ …แต่แล้วผมก็ต้องโยนทิ้งหมดเมื่อผมคัดรอบที่2(หัวเราะ)

คำถาม –ผมได้ยินมาว่ามันถูกเรียกว่า”thunder showa”

Maeda –(หัวเราะ)นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราต้องเก็บปลาโชว่าที่รูปร่างดีๆและคุณภาพผิวดีๆไว้…..การพัฒนาด้วยวิธีการนำเลือดใหม่เข้าไปผสมเป็นเรื่องยากครับ

คำถาม –แล้วถ้าเราใส่เลือดโคฮากุเข้าไปแทน(การใส่ซันเก้)ละครับ

Maeda –ผมยังไม่ได้ผสมโคฮากุเข้าไปเลย แต่ก็อาจจะไม่ได้ลูกปลาที่มีสีดำ(Kuroko)เลยก็ได้

คำถาม –แต่ผมก็ได้ยินว่าอัตราส่วนของ Kuroko นั้นต่ำอยู่แล้วแม้แต่การเพาะระหว่างโชว่าทั้งคู่

Maeda –จริงเหรอครับ ถ้างั้นผมจะลองอีกซักหน่อยปีนี้ ….ผมจะต้องสร้างบ่อใหม่ด้วย

คำถาม –บ่อสำหรับลูกปลาหรือครับ

Maeda –ใช่ครับ ประมาณอีกเท่าตัวจากจำนวนบ่อที่มีอยู่ตอนนี้ ผมคิดว่าผมต้องขยายเป็นทั้งหมด 1 แสนตารางเมตร

คำถาม – 1แสนตารางเมตรสำหรับบ่อลูกปลา

Maeda –(หัวเราะ)ตอนนี้เรามีประมาณ5 หมื่นตารางเมตรครับ

คำถาม –ปีที่แล้วคุณเพาะพ่อแม่พันธุ์ปลากี่คู่ครับ

Maeda –ผมถูกถามคำถามนี้บ่อยมากๆ ก่อนที่จะตอบอยากบอกให้คุณพิจารณาว่าบางคู่เราได้ลูกปลาแค่ 5หมื่นเท่านั้นแต่บางคู่เราก็ได้7-8แสน ส่วนคำตอบก็ประมาณ 60 คู่ครับเมื่อปีกลาย

คำถาม –จำนวนที่กล่าวนั้นรวมปลาสายพันธุ์อื่นๆเช่น กินรินโคฮากุ และอื่นๆด้วยหรือไม่ครับ

Maeda –รวมครับ เรามีปลาพ่อแม่พันธุ์สาย Kawarimono และ  Ginrin  อยู่อย่างละ 2คู่ ส่วนที่เหลือเป็นปลาหลักทั้งหมดครับ

คำถาม –พ่อแม่พันธุ์ปลาหลักมีทั้งหมด 56คู่ซิครับ

Maeda –ใช่ครับ เราฝึกทีมงานรุ่นใหม่ๆในการคัดปลาได้ดีแล้วดังนั้นเป็นไปได้ที่เราจะเพิ่มจำนวนขึ้นไปอีกหนึ่งเท่าตัว ผมคิดว่าเราทำได้ประมาณ 100คู่แบบสบายๆ

คำถาม –นั่นเป็นขนาดที่ใหญ่มากๆนะครับ

Maeda –เราใช้พ่อแม่พันธุ์ปลาเพิ่มขึ้น 3 เท่าจากปีที่แล้วแต่จำนวนปลาที่เก็บไว้จะเท่าเดิม ที่เราทำอย่างนี้เพราะว่าเราต้องการยกระดับปลาที่เก็บไว้ให้สูงขึ้น

คำถาม –คุณเข้มงวดขึ้นเพื่อยกระดับปลาในภาพรวม

Maeda –ใช่ครับ ดังนั้นถึงแม้เราจะเพิ่มการผลิตเป็น2เท่าแต่ไม่ใช่ว่าเราเพิ่มจำนวนปลาที่ขายออกเป็น2เท่าครับ

คำถาม –คุณต้องผสมหลายๆคู่เพื่อให้ได้ปลาที่ดีใช่ไหมครับ

Maeda –เราเพาะปลาจนกว่าเราจะไม่มีที่เลี้ยงมากกว่าที่จะเลือกเพาะปลาเพียงบางคู่ครับ ทำให้เราเพาะจนถึง60คู่

คำถาม –ถ้าปลาพ่อแม่พันธุ์คู่หลักให้ผลที่ประสบความสำเร็จ คุณจะลดจำนวนคู่พ่อแม่พันธุ์ปลาที่จะเพาะไหมครับ

Maeda –กรณีนั้นจำนวนจะลดลงครึ่งหนึ่งเลยครับ แต่ว่าเป้าหมายของเราไม่ได้อยู่ที่การขายปลาโตไซจำนวนมากๆ ดังนั้นพ่อแม่พันธุ์ปลาหลักทุกคู่เป็นปลาพ่อแม่พันธุ์คู่หลักทุกคู่ แม้แต่ปลาโตไซที่เกิดจากการเพาะครั้งแรกของคู่พ่อแม่ปลาหน้าใหม่เราเก็บเป็นปลาที่ไว้ทำพ่อแม่พันธุ์ในอนาคตครับ การเพาะรอบสุดท้ายเมื่อปีกลายเราทำถึงวันที่ 19 สิงหาคมเลยทีเดียว

คำถาม –หลังวัน The O-bon holiday เลยหรือครับ

Maeda –ใช่ครับ ผมมีความคิดเยอะแยะเลยว่าปีนี้ผมจะเพาะจนถึงเดือนตุลาคม

คำถาม – ฤดูใบไม้ร่วงหรือครับ หมายความว่าคุณจะเพาะปลาตลอดเดือนกันยายนเลยซิครับ

Maeda –ผมไม่แน่ใจว่าเราจะทำได้หรือไม่ แต่ผมรู้สึกว่าเราน่าจะทำได้ถึงเดือนตุลาคม

คำถาม –คุณไม่เจอผลเสียจากการเพาะปลาหลังวัน The O-bon holiday(กลางเดือนสิงหาคม) เลยหรือครับ
Maeda –ไม่เลยครับ ไม่น่าเชื่อเลยเหมือนกันครับ(หัวเราะ) ปลาที่เพาะวันที่ 19สิงหาคมโตมีขนาด 25เซ็นต์ในวันที่ 1 มีนาคมครับ

คำถาม –ปลาอะไรครับ

Maeda –ซันเก้และปลาโคฮากุบางตัวครับ

คำถาม –แล้วคุณเพาะปลาโปรดคุณตอนไหนครับ

Maeda –ผมเพาะปลาโปรดผมตอนประมาณรอบที่2ในสายการผลิตซึ่งตรงกับปลายเดือนเมษายนจนถึงต้นเดือนมิถุนายน ซึ่ง Daphnia และอุณหภูมิคงที่ที่สุดในช่วงนั้น

คำถาม –คุณเริ่มเพาะตั้งแต่ตอนกลางเดือนเมษายนใช่ไหม

Maeda –ใช่ครับ เรามีช่วงการเพาะปลาที่ยาวมากดังนั้นเราหาวิธีใหม่ๆในการเลี้ยงดู่พอแม่พันธุ์(เพื่อการเพาะปลาตลอดปี)

คำถาม –ดูเหมือนว่าคุณทำการเพาะปลาถึงครึ่งปีเลย

Maeda –ใข่ครับ เราเพาะปลาปริมาณมากไม่ได้เพื่อขายปลาจำนวนมากๆราคาถูกๆแต่ทำเพื่อยกระดับปลาโดยรวม ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นภาพพจน์ของปลาคราฟญี่ปุ่นจะตกต่ำลงอย่างมาก ถ้าในอนาคตปลาคราฟที่เพาะในต่างประเทศพัฒนาขึ้นเราจะเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคาได้ถ้าเรามีภาพพจน์ว่าขายปลาไม่มีคุณภาพ แต่ถ้าคุณผลิตปลาที่มีคุณภาพสูงแล้วประเทศจีนหรืออิสราเอลจะไม่สามารถแข่งขันกับเราได้ ดังนั้นการสร้างชื่อเสียงที่ว่าปลาคราฟของคนญี่ปุ่นดีกว่าชนิดที่ไร้ข้อกังขาเป็นเรื่องสำคัญ

คำถาม –ส่วนมากเราจะพูดถึงแต่ปลาเพศเมียทว่ามีปลาเพศผู้2ตัวของคุณที่ได้รับรางวัล kokugyo ด้วย ตัวแรกเป็นของ Mr.Iizuka (ปลาหมายเลข2 เจ้าของเป็นผู้เลี้ยงปลา)ซึ่งสวยงามมากและยังคงรักษาคุณภาพเอาไว้ได้ และปลาหมายเลข3ที่ตอนนี้กลับมาอยู่กับคุณในฐานะพ่อพันธุ์ปลา


Maeda –ใช่ครับ การตัดสินเป็นเรื่องที่น่าสนใจจริงๆครับ ปลาหมายเลข3มีรูปร่างที่ดีกว่านี้มากเมื่อปีที่แล้ว ผมคิดว่าการให้อาหารเร่งสีที่มากเกินไปส่งผลเสียกับมันนิดหน่อย และมันก็ยังอยู่ในช่วงเตรียมตัวเพื่อชิงรางวัล kokugyo ในปีนี้(ปีกลายได้ reverse champion ในขณะที่มันอยู่ในช่วงที่ดีที่สุดของมัน) ปีที่แล้วมีหลายคนต้องการจะซื้อมันแต่ Mr.Kaneko ตัดสินใจไม่ขายมันแต่ส่งมันกลับมาให้เราเพื่อเป็นพ่อพันธุ์แทน ผมต้องขอบคุณเขาจริงๆ

คำถาม –คุณว่าแผนที่จะผสมปลาหมายเลข3กับปลาสายเลือดของ Mako ใช่ไหมครับ

Maeda –ใช่ครับ มีปลาโคฮากุ3ปีคุณภาพดีที่เกิดจาก Mako อยู่ตัวหนึ่ง ผมจึงคิดว่าจะจับคู่มันกับพ่อปลาหมายเลข3 และพ่อปลาตัวนี้มีลวดลายแตกต่างกับพ่อปลา Takeda(ปลา Σ)แต่สีแดงและรูปร่างคล้ายกัน

คำถาม –การใช้ลูกของ Mako เป็นการเติมเลือดซันเก้เข้าไปอีกใช่ไหมครับ

Maeda –ใช่ครับ ทั้งเลือดซันเก้และเลือดมากอย ผมไม่แน่ใจว่ามันจะเป็นอย่างไรแต่นั่นก็เป็นความสนุกของการเพาะปลาคราฟครับ ผมคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ตลอด

คำถาม –คุณคิดอย่างไรกับความคิดของบรีดเดอร์ขนาดกลางที่ว่าเก็บปลาแค่ตัวเดียวสำหรับทำพ่อแม่พันธุ์ปลาในอนาคตจากการเพาะหนึ่งครั้งก็เพียงพอ

Maeda –ผมเห็นด้วยครับ แต่เราเน้นไปที่การเพาะปลาที่จะสามารถชิงตำแหน่ง Grand Champion ได้มากกว่าการทำปลาที่จะเป็นพ่อแม่พันธุ์ปลาในอนาคต ถ้าเราสามารถทำปลาที่โดดเด่นได้1-2ตัวนั้นก็ถือว่ารับได้แล้วครับ มันดีมากทีเดียวถ้าเราสามารถถูกหวยกับการเพาะปลาครั้งนั้นๆ ผมมองเป็นเรื่องของการผจญภัยมากกว่าการหารายได้ครับ

คำถาม –หมายความว่าคุณสามารถผลิตปลาระดับ All-Japan

Maeda –แน่นอนครับ และผมคิดว่าถ้าทำอย่างนั้นเราก็จะเจอปลาที่เหมาะสมที่จะเป็นพ่อแม่พันธุ์ในอนาคตไปด้วยโดยปริยาย แต่ถ้าปลาในครอกเดียวกันไม่มีลักษณะที่ดีเช่นเดียวกันก็ไม่ต้องเก็บไว้ครับ

คำถาม –ปลาทั้ง 3 ตัวที่ได้รางวัล kokugyo เป็นผลผลิตของการผจญภัยและผลผลิตของความน่าสนใจในการเพาะปลาใช่ไหมครับ

Maeda –ใช่ครับ

คำถาม –ปีนี้คุณมีพ่อแม่ปลาต้นตำหรับที่จะผสมที่ฟาร์มของ Mr.Takeda และคู่พ่อแม่ปลาที่เป็นพี่น้องกับปลาที่ได้รางวัล kokugyo และคู่พ่อแม่ปลาที่มีเลือดมากอย นี่เป็นการขยายของเขตของปลาโคฮากุหรือไม่ครับ

Maeda –ผมรู้ผลลัพธ์ที่ได้จากคู่พ่อแม่ปลาต้นตำหรับอยู่แล้วครับ และปีที่แล้วผมก็เข้าใจถึงผลที่จะได้จากคู่พ่อแม่ปลาที่เกิดจากพ่อแม่ปลาต้นตำหรับแล้วเช่นกัน ส่วนการเติมเลือด Mako จะเป็นการเพิ่มความหลากหลายให้มากขึ้น ตอนนี้ผมลงแรงทั้งหมดไปกับปลาโคฮากุ(หัวเราะ)..แต่ผมก็พยายามพัฒนาปลาสายอื่นๆตลอดปีที่แล้วเช่นกัน

ผู้สัมภาษณ์ – ผมจะรอวันอวนปลาในฤดูใบไม้ร่วงนะครับ ขอบคุณมากสำหรับการเสียสละเวลามาพูดคุยกันวันนี้ครับ

*************************************************************************

No comments:

Post a Comment

TKKG We Care Project 6

ZNA Local Certified Judge

Search This Blog

บทความที่ได้รับความนิยม

Followers

How to follow my blog

My Facebook